บ้านห้วยมะหินฝน เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่มีแม่น้ำจันไหลผ่านเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชุมชน มีคนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกันในชุมชน เช่น อาข่า ไทยใหญ่ ลีซอ มูเซอ จีนยูนาน อิ้วเมี่ยน คนเมือง มัง และคนแต่ละกลุ่มยังมีความเชื่อทางศาสนาต่างกัน ที่นี่จึงมีทั้งผู้คนที่นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม รวมถึงความเชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ การอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายอย่างเคารพซึ่งกันและกันจึงเป็นสิ่งที่เด็กและเยาวชนควรได้รับการปลูกฝังให้เห็นความสำคัญ เพื่อให้ทุกคนในชุมชนได้รับการนับรวม ไม่มีการแบ่งแยกกีดกันด้วยเหตุแห่งชาติพันธุ์หรือศาสนา
คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด
...
บ้านป่าคาแม่เงินมีลำน้ำแม่เงินตัดผ่าน สายน้ำแม่เงินที่เป็นดั่งสายน้ำแห่งชีวิตที่หล่อเลี้ยงชุมชนมาตั้งแต่มีการตั้งบ้านเรือนถิ่นฐานเริ่มเสื่อมโทรมลงไปตามกาลเวลา โดยปัจจุบันชุมชนมีการฟื้นฟูพัฒนาลำน้ำน้ำในหลายด้าน เช่นการกำจัดขยะ การฟื้นฟูให้เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรรมชาติและเหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ชุมชน แต่ที่ผ่านมายังขาดบกบาทของเด็กและเยาวชนในการมีส่วนร่วมฟื้นฟูลำน้ำน้ำ ขาดการนับรวมเด็กในการพัฒนาพื้นที่ป่าชุมชนและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยรอบลำน้ำแม่เงิน รวมถึงขาดความร่วมมือระหว่างเด็กกับชุมชุมชนในการฟื้นฟูพัฒนาลำน้ำ
คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด
...
ในเรื่องทิศทางการพัฒนาพื้นที่ให้ปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชน การเดินทางไปโรงเรียนเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของเด็ก เพราะเด็ก ๆ ทุกคนต้องใช้ถนนในชุมชนเดินทางจากบ้านไปโรงเรียนทุกวัน ในขณะที่พบว่าชุมชนยังไม่ตระหนักถึงเรื่องการสร้างสภาพแวดล้อมของเมืองที่มีความปลอดภัยสำหรับทุกคน การส่งเสริมบทบาทเยาวชนให้มีจิตสำนึกในเรื่องการพัฒนาเมืองปลอดภัยและน่าอยู่ ตระหนักถึงสิทธิของตนเองในการส่งเสียงต่อชุมชนเพื่อสร้างเมืองที่ปลอดภัยสำหรับตัวเอง บทบาทของเยาวชนเช่นนี้จะมีส่วนร่วมสร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนปรับปรุงสภาพแวดล้อมในเมืองให้ปลอดภัยในการเดินทางสำหรับเด็กเพิ่มขึ้น
คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด
...
เมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรรม ก่อให้เกิดความรุ่มรวยในวิถีชีวิต ความเชื่อประเพณี และวัฒนธรรรมที่กลายเป็นอัตลักษณ์ของเมือง สร้างมนต์เสน่ห์ให้แม่สายทั้งด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ การเมือง สังคม ศิลปะ และการศึกษา ความซับซ้อนของโครงสร้างทางสังคมและวัตมนธรรมที่ส่งผลด้านลบ ทั้งสภาพปัญหาทางกายภาพ ปัญหาความขัดแย้งความเหลื่อมล้ำทางสังคม รวมถึงการเริ่มเลือนหายของวัฒนธธรรม การทิ้งเมืองที่เป็นรากเหง้าของผู้คน ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นปรากฏการณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด
...
“เด็กที่ไม่เรียบร้อย ชอบแหกกฎ โตมาไม่ได้ดีหรอก"
"พ่อแม่ทำงานหนัก หาเงินมาให้ลูก ลูกต้องตั้งใจเรียนนะ"
"เรียนตามที่แม่บอก โตมาจะได้ทำงานมั่นคงเหมือนแม่"
รูปประโยคข้างต้นผู้ใหญ่บางคนอาจเคยได้ยินมาตั้งแต่เด็กๆ จากการเป็นผู้รับและถูกหล่อหลอมทำตามขนบที่ผู้เป็นพ่อ แม่ และอาจรวมไปถึงครู กรอกข้อมูลในแบบ 'เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด' จนเกิดเป็นความเคยชินและถือปฏิบัติกันมาจนโต เพราะคิดว่าคำพูดเหล่านั้นเต็มไปด้วย 'ความรักและความหวังดี' จากผู้ที่เคารพมอบให้
The Youngster พูดคุยกับอาจารย์อวยพร เขื่อนแก้ว ผู้เขียน 'เลี้ยงลูกให้ถูกยุคสมัย' และกระบวนกรที่ทำงานด้านสตรีและครอบครัว ถึงมุมคิดในการทำความเข้าใจเด็กยุคนี้ ต้องให้ความสำคัญในเรื่องใด ความห่วงใย ความหวังดีของพ่อแม่บางเรื่องบางเหตุการณ์จะกลายเป็นดาบสองคมที่ทำร้ายลูกหรือไม่ แล้วเราจะเปลี่ยนโลกทัศน์ของคนบางกลุ่มที่ยังเป็นแบบอำนาจนิยมไปสู่การสร้างอำนาจร่วมในโลกสมัยใหม่ เพื่อลดอคติความรุนแรงและความเกลียดชังในสังคมที่ยังระอุเช่นนี้ได้อย่างไร
[ ครอบครัว-โรงเรียน ตัวแปรสำคัญหล่อหลอมโลกทัศน์เด็ก ]
จากประสบการณ์ที่ทำการอบรมพ่อแม่ ผู้ปกครองและครูในสถาบันการศึกษา พบว่าประมาณ 80% จะบอกว่าครอบครัวและโรงเรียน เป็นแหล่งอำนาจนิยมที่มีส่วนสำคัญหลอมระบบคิดให้เขาโตมาเป็นเขาทุกวันนี้ ถูกหลอมอยากหนักจนอยู่ในเนื้อในตัว บางคนโตมาในครอบครัวที่ยังคงเป็นแบบวัฒนธรรมอำนาจนิยม ก็คือพ่อและแม่ร่วมกันใช้อำนาจเหนือลูก เช่น การดุด่า การบังคับ...