สสย.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการนักการศึกษากับการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล
17570
post-template-default,single,single-post,postid-17570,single-format-standard,bridge-core-2.1.7,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-title-hidden,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-20.4,qode-theme-bridge,qode_header_in_grid,wpb-js-composer js-comp-ver-6.1,vc_responsive

สสย.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการนักการศึกษากับการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนร่วมกับ Thai Civic Educationจัดอบรมเชิงปฏิบัติการนักการศึกษากับการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล   13 – 15 มิ..

นางสาวเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน กล่าวต้อนรับนักการศึกษาผู้เข้าร่วมอบรมการอบรมเชิงปฏิบัติการนักการศึกษากับการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL)

นางสาวสุธาทิพ  ลาภสมภพ  เจ้าหน้าที่สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการอบรม รวมถึงผลที่คาดหวังจากการอบรมในครั้งนี้ และงช่องทางการทำงานร่วมกันกับอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาในการขยายแนวคิดการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อในการสร้างพลเมือง ผ่านการสนับสนุนโครงการกิจกรรมและโครงการวิจัย

 ซึ่งตลอดระยะเวลา 3 วัน มีกิจกรรมและกระบวนการมากมายที่จะส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล  เช่น วิเคราะห์สื่อ  อัตลักษณ์กับโอกาสทางสังคม ตั้งคำถามกับสารสนเทศ (information) ที่ปรากฏอยู่ในสังคม

ถอดบทเรียนกระบวนการเรียนรู้ตลอดทั้ง 3 วันที่ผ่านมา

อ.อรรถพล ชวนผู้เข้าร่วมประชุมจับคู่ถอดบทเรียนจากกิจกรรมตลอดทั้ง 3 วัน ทั้งในแง่ความรู้ กระบวนการเรียนรู้ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ผ่าน 5 E เห็นการสร้างการมีส่วนร่วม (Engage) การสำรวจประสบการณ์ใหม่ (Explore) การทำความเข้าใจร่วมกัน (Elaborate) การขยายความเข้าใจให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น (Explain) และการประเมินความเข้าใจของตนเอง (Evaluate) จะขยายแนวคิดเรื่อง MIDL เข้าในหน้างานของตนเองในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างไรบ้าง ทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กร พร้อมแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในวงประชุม

ต่อด้วย คุณเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ชวนผู้เข้าร่วมประชุมขมวดความคิดเรื่องสื่อกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ผ่านภาพเล่าเรื่องวิวัฒนาการการใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างอำนาจผ่านการถ่ายทอดชุดความคิด คุณค่าบางอย่างที่รัฐต้องการให้ประชาชนเป็น พร้อมชวนตั้งคำถามว่าสื่อเสรีที่ไม่ถูกครอบงำทั้งจากรัฐและเอกชนมีอยู่จริงหรือไม่?

No Comments

Post A Comment