MIDI – 25 พื้นที่
-1
archive,paged,category,category-midi,category-79,paged-2,category-paged-2,bridge-core-2.1.7,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-title-hidden,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-20.4,qode-theme-bridge,qode_header_in_grid,wpb-js-composer js-comp-ver-6.1,vc_responsive

โครงการตลาดนัดหน้าโรงเรียนบ้านปากคะยาง โรงเรียนบ้านปากคะยาง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย โรงเรียนบ้านปากคะยาง ตั้งอยู่ในชุมชนที่มีทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและแหล่งอาหารในชุมชนที่หลากหลาย มีเขื่อนแม่ทำแพเป็นแหล่งน้ำทำให้มีน้ำให้น้ำใช้ในการเกษตรและการอุปโภคบริโภค มีความอุดมสมบูรณ์สามารถทำการเกษตรได้ตลอดปี โดยโรงเรียนบ้านปากคะยางได้ทำโครงการต่อยออดเป็นปีที่สอง จากที่ปีแรกได้พาเด็กเยาวชนตามหาพันธุ์ปลาที่มีอยู่ในเขื่อนหลังโรงเรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเมืองที่ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและมีความยั่งยืน ซึ่งทำให้พบว่าแม้พื้นที่บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ แต่หลายครอบครัวยังยังมีฐานะยากจน ดังนั้นจึงคิดต่อยอดว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถใช้ทุนความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติที่มีมาสู่แนวทางการบรรเทาปัญหาทางเศรษฐกิจของนักเรียนยากจนที่อาจเสี่ยงต่อการหลุดจากระบบการศึกษา รวมถึงเพื่อขับเคลื่อนไปสู่เมืองที่มีพื้นที่สาธารณะคุณภาพและมีพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมหลากหลาย คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด ...

โครงการพลังเยาวชนสร้างเมืองแห่งความสุข โรงเรียนเพชรละครวิทยา อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ โรงเรียนเพชรละครวิทยา เป็นโรงเรียนขยายโอกาสระดับมัรยมศึกษา ประชากรในชุมชนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยอีสาน ประกอบอาชีพการเกษตร มีสังคมแบบเครือญาติ โดยค่านิยมของผู้ปกครองและชาวบ้านในชุมชนต้องการส่งลูกหลานไปเรียนในเมืองใหญ่ เพราะมีความเชื่อว่าการเรียนที่บ้านเกิดอาจทำให้ลูกหลานขาดโอกาสและขาดอนาคตที่ดี ขณะที่เด็กและเยาวชนบางส่วนมองว่าการได้เรียนหนังสือและใช้ชีวิตในชุมชนที่พวกเขาเติบโตมาจะทำให้พวกเขามีความสุขกว่าการไปใช้ชีวิตที่อื่นและสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้ เด็กและเยาวชนมองเห็นสิ่งดีงามมากมายในชุมชนของตนเอง ทั้งภูมิประเทศที่สวยงาม อาหารการกินที่ดี ค่าครองชีพไม่สูง และมองเห็นโอกาสในการสร้างอนาคตของตนเองในชุมชนอย่างมีความสุข คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด ...

โครงการเยาวชนพลเมืองรักษ์กะชอเตหน่า สู่นักพัฒนาเมืองรุ่นเยาว์ โรงเรียนบ้านยะพอ อ.พบพระ จ.ตาก พื้นที่ติดชายแดนไทยและเมียนมามีแม่น้ำเมยเป็นพรมแดน คนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ มีชนเผ่ากะเหรี่ยงโปว์และพม่าอยู่ร่วมกัน แม้ชาวบ้านยังรักษาอัตลักษณ์ และการดำรงวิถีชีวิตแบบปะกาเกอะญอแต่การมาของความเจริญและวิถีชีวิตแบบปัจจุบันที่เข้าสู่ชุมชนนั้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยมทางสังคมและวัฒนธรรรมคนรุ่นใหม่เริ่มห่างหายจากการรับรู้ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรรมในชุมชน ในขณะที่ผู้ใหญ่ ที่มีความรู้ด้านนี้ค่อย ๆ เหลือน้อยลงทุกที จึงต้องการส่งเสริมให้เยาวชนเห็นถึงคุณค่าและเกิดความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ตนเองผ่านการเรียนรู้ศิลปะและคนตรีให้มากขึ้น คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด ...

โครงการ ศิลป์กล่อมดอย โรงเรียนบ้านสันติสุข ต.ขุนควร อ.ปง จ.พะเยา ลำน้ำสาว หรือ น้ำสาว เป็นลำน้ำน้ำสายหลักที่ไหลผ่านบ้านสันติสุข หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตชาวม้งในหมู่บ้านมาแสนนาน การเป็นหมู่บ้านที่มีสมาชิกเป็นชาติพันธ์ม้งทั้งหมด ทำให้วิถีชีวิตมีความเป็นอัตลักษณ์ที่ชัดเจน อาชีพหลักคือการทำไร่บนภูเขาสูง การจับปลาในแม่น้ำ คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด ...

โครงการ Mae Sariang talk "คุยเพื่อปรับ ขยับเพื่อเปลี่ยน (เมือง) แม่สะเรียง" โรงเรียนแม่สะเรียง "บริพัตรศึกษา" ต.บ้านกาศ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน แม่สะเรียงเป็นอำเภอขนาดใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ห่างไกลติดชายแดนไทย-เมียนมาที่มีธรรมชาติที่สวยงามและวัฒนธรรมที่หลากหลายจนกลายเป็นหมุดหมายสำคัญของนักท่องเที่ยว มีการอยู่ร่วมกันของคนหลากหลายชาติพันธุ์ เช่น ชาวไทยใหญ่ ไทยวน เมียนมา กะเหรี่ยง ละว้า มัง มูเซอ เย้า อาข่า และมีผู้นับถือศาสนาพุทธ อิสลาม คริสต์ หรือผู้ที่ไม่เลือกนับถือศาสนาใดอยู่ร่วมกันอย่างยอมรับความแตกต่าง อย่างไรก็ตามแม้จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขเกื้อกูลมาช้านาน แต่ผู้คนหลากหลายวัตมนธรรม และความเชื่อนี้ยังไม่มีโอกาสได้ทำความรู้จักวัฒนธรรมของกันและกันอย่างลึกซึ้งมากนัก และอาจยังมองไม่เห็นว่าวิถีแห่งความหลากหลายนี้คือเสน่ห์ที่สำคัญและน่าภาคภูมิใจของแม่สะเรียง ซึ่งจะเป็นต้นทุนให้เมืองแห่งนี้เป็นเมืองพหุวัฒนธรรมที่สร้างสุขให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความหมายและยั่งยืนได้ คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด ...

โครงการ สามเณรน่านออกแบบเมืองสื่อสรรค์สร้างโรงเรียนเชียงกลางปริยัติศึกษา ต.เชียงกลาง อ.เชียงกลาง จ.น่าน สังคมไทยกับพุทธศาสนามีความเชื่อมโยงกันในทุกมิติตั้งแต่เกิดจนตาย โดยเฉพาะในสังคมชนบทที่ยังคงมีกิจกรรมที่เกื้อหนุนกันมาทั้งชุมชน วัด โรงเรียน หน่วยงานในท้องถิ่นล้วนทำงานร่วมกัน ณ ตำบลเชียงกลาง จังหวัดน่าน เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีโรงเรียนปรยัติธรรม ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อให้พระภิกษุสามเณรที่ขาดโอกาสในการเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษา ได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาเล่าเรียน เพื่อให้มีความรู้ มีทักษะ และมีความชำนานาญตามศักยภาพของตน ซึ่งการจัดการเรียนการสอนนั้นจะเป็นรูปแบบของการศึกษาควบคู่กันไปกับวิชาสายสามัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ และการจัดการศึกษาแผนกธรรมและแผนกบาลีควบคู่กันไปด้วย คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด ...

โครงการตลาดมีสุข โรงเรียนเทศบาลตำบลตลาดใหญ่ (บ้านจ้อง) ต.ตลาดใหญ่ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่กำลังจะถูกยุบ ตั้งอยู่ภายในชุมชนพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งคนในชุมชนเห็นความสำคัญในการมีอยู่ของโรงเรียนแห่งนี้ และเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อทำให้ไรงเรียนเล็ก ๆ แห่งนี้มีความเข้มแข็งจนรอดพันจากการถูกยุบ หลังผ่านวิกฤติการถูกยุบโรงเรียน ครูและชุมชนเห็นร่วมกันว่าควรมีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการเรียบรู้ และองค์ความรู้ต่างๆ ควรมาจากชุมชน จึงได้เกิดกิจกรรมปลุกคนปลูกผัก ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การปลูกข้าว ปลูกผัก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาความรู้ของชุมชน แม้โรงเรียนมีพื้นที่ไม่มากนักก็สามารถปลูกผักอินทรีย์ได้ตามฤดูกาล ส่วนการปลูกข้าวใช้พื้นที่นาของคนในชุมชนให้เด็กๆได้เรียนรู้การทำนาแบบอินทรีย์ และนำผลผลิตที่ได้นำมาเป็นอาหารกลางวันของโรงเรียน ส่วนที่เหลือนำไปขายในโครงการตลาดนัดมีสุขทุกวันเสาร์ในชุมชน คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด ...

โครงการ Now You See Me แม่ทามีดีมากกว่าที่เห็น โรงเรียนวัดห้วยทราย โรงเรียนวัดดอนชัย กศน.แม่ออน วิสาหกิจชุมชนแม่ทาออร์แกนิค และ อบต.แม่ทา จ.เชียงใหม่ ชุมชนแม่ทาเป็นชุมชนที่มีอัตลักษณ์รุ่มรวยด้วยวัฒนธรรรมประเพณี มีแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และอาชีพที่สืบทอดความรู้กันมายาวนานหลายชั่วอายุคน เช่น การทอผ้า การถักเชือกลวดลายสายข้อมือ การสานไม้ไผ่ สนุนไพรและการนวดไทย ฟาร์มไข่ไก่อารมณ์ดี สวนผักเกษตรอินทรีย์ และยังมีป่าแห่งความเชื่อ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ป่าหอ พื้นที่ป่าธรรมชาติที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนในชุมชน เป็นพื้นที่แห่งศรัทธาที่มีประเพณีวัฒนธรรรมที่น่าสนใจอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวบ้านในท้องถิ่นภาคเหนือ เช่น การทำสะตวงไหว้ในป่าหอ ประเพณีการไหว้ผีบนบานศาลกล่าวก่อนทำนา เป็นต้น คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด ...

โครงการ เปลี่ยนสันกำแพงด้วยพลังเยาวชน กลุ่ม เยาวชนพลเมืองสันกำแพง ต.สันกำแพง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ หากกล่าวถึง ถนนสันกำแพงสายเก่า ไม่มีใครไม่นึกถึงความร่มรื่น ความเขียวขจีของต้นไม้ใหญ่ 2 ข้างทาง ต้นฉำฉา หรือที่เรารู้จักกันในอีกหลายชื่อ ทั้ง ต้นจามจุรี ต้นก้ามปู (Rain Tree) ไม้เนื้ออ่อนที่มีอายุได้ยืนยาวกว่าร้อยปีบนถนนสันกำแพงแห่งนี้ มิได้ผ่านเพียงการต่อสู่กับเปลวแดด ลมหนาว และห่าฝน แต่ยังต้องต่อสู่กับการพัฒนาขยายเมืองจากตัวเมืองเชียงใหม่ มาสู่อำเภอสันกำแพง คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด ...