MIDI – 25 พื้นที่
-1
archive,category,category-midi,category-79,bridge-core-2.1.7,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-title-hidden,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-20.4,qode-theme-bridge,qode_header_in_grid,wpb-js-composer js-comp-ver-6.1,vc_responsive

โครงการร้านเล่าชุมชน ชุมชนวัดจันทร์ อ.สทิงพระ จ.สงขลา ชุมชนที่มีต้นทุนด้านประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา และทรัพยากรธรรมชาติอันมีเอกลักษณ์ แต่คนรุ่นใหม่กลับได้เรียนรู้เกี่ยวกับชุมชนของตนเองน้อยมาก เพราะการศึกษาที่ไม่ยึดโยงกับชุมชน คุณสมบัติ แก้วเนื้ออ่อน จึงได้ริเริ่มโครงการนี้โดยออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ชุมชนที่ได้เรียนรู้จากเครือข่าย Feel Trip โดยมีโจทย์ที่ต้องการหาวิธีการทำให้การเรียนรู้ในชุมชน เชื่อมโยงกับเด็ก ๆ ในชุมชนให้ได้ เริ่มจากคำถามง่าย ๆ ที่ว่า บ้านวัดจันทร์คืออะไร นำคำถามนั้นมาออกแบบการเรียนรู้โดยเริ่มจากการชวนเด็ก ๆ ออกปั่นจักรยานสำรวจพื้นที่เพื่อค้นหาความหมายของชุมชนบ้านวัดจันทร์ คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด ...

โครงการละครชุมชน คนบ้านวัดขัน_นาท่อม ต.อ่างทอง อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง จากโจทย์ที่ต้องการให้เด็กและเยาวชนในชุมชนได้เรียบรู้เกี่ยวกับบ้านเกิดของตนเอง และมอบอำนาจในการเลือกการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองให้กับเด็ก ๆ เพื่อเป็นประตูบานแรกสำหรับการค้นพบคุณค่าในตนเองและค้นพบความหมายของชุมชนที่มีผลต่อชีวิตของตนเอง โครงการละครชุมชน คนบ้านวัดขัน_นาท่อมใช้เครื่องมือการละครพาเด็กและเยาวชนเข้าไปตรวจสอบคุณค่า ความหมายในชุมชน เพื่อรู้จักตัวเอง รู้จักชมชน และสามารถสื่อสารส่งต่อความหมายผ่านการแสดงละคร โดยนำแนวคิด Feel Trip และสาธารณศึกษามาใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับชุมชน เริ่มจากพาเด็ก ๆ ทำกิจกรรมที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การทำสานจากการทำขนมค้อม การทำไม้กวาดจากก้านมะพร้าว ฯลฯ แล้วให้เด็กนำประสบการณ์และความรู้ที่ได้จากการร่วมกิจกรรมมาค้นหาความชอบหรือความถนัดของตัวเอง เพื่อนำความชอบหรือความถนัดนั้นออกมาใช้ในการสร้างสรรค์ละครหนึ่งเรื่อง คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด ...

โครงการแปลงผักนุ้ย ๆ ปี : มหัศจรรรย์พืชพื้นบ้านผักพื้นถิ่น ต.ตลิ่งชัน อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ เกาะเล็ก ๆ ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ที่เป็นจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญของภาคใต้ จากอาชีพดั้งเดิมที่คนในชุมชนเคยเป็นคนทำประมง และทำการเกษตรก็เปลี่ยนอาชีพไปทำงานด้านการท่องเที่ยว และในภาคอุตสาหกรรม ความเป็นชุมชนดั่งเดิมจึงค่อย ๆ เลือนหายไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง และในปี 2547 เกิดสึนามิ เกาะแห่งนี้ได้รับผลกระทบคลื่นยักษ์กวาดทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่นและพืชพันธุ์ตั้งเดิมสูญหายไปเกือบหมดจนแทบไม่เหลือตันทุนธรรมชาติดั้งเดิม ทำให้ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนลดลง ประกอบกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่มีการประกาศล็อกดาวน์ แหล่งงานที่เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวปิด คนในชุมชนจำนวนไม่น้อยที่เป็นลูกจ้างตามสถานบริการเหล่านี้ขาดรายได้ ส่งผลกระทบถึงสภาพความเป็นอยู่ในครัวเรือน ขณะที่ความมั่นคงทางอาหารภายในชุมชนก็ไม่มีดังเช่นในอดีต คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด ...

โครงการเปียงหลวง Food Designer โรงเรียนเปียงหลวง ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ บ้านเปียงหลวงมีจุดเด่นวัฒนธรรมภูมิปัญญาของชาวไทใหญ่ มีชาติพันธุ์ไทใหญ่ ประมาณ 80% ที่เหลือเป็นคนเมืองและจีนฮ่อ ดังนั้นจึงมีความเป็นกลุ่มก้อนของวัฒนธรรมไทใหญ่สูง แต่กลับไม่สามารถเชื่อมโยงวัฒนธรรมเหล่านั้นมาสู่การเรียนรู้ในโรงเรียนได้ เด็กและเยาวชนไม่รู้จักต้นทุนภายในชุมชนของตนเอง ดังนั้นจึงนำกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อนำไปสู่การจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาองค์ความรู้ของชุมชน เก็บข้อมูลต้นทุนทางสังคมวัฒนธรรมที่สำคัญของหมู่บ้านเปียงหลวงนำไปต่อยอดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากมุมมองของเด็กและเยาวชน คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด ...

โครงการเป๋อทีล่อลี: ต้นทุนวัฒนธรรม ความมั่นคงของชีวิตปกาเกอะญอ บ้านหนองเต่า ต.แม่วัน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ชุมชนที่อยู่อาศัยของชาวปกาเกอะญอ ตั้งอยู่ใกล้ดอยอินทนนท์สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิต ชุมชนจึงได้รับผลกระทบจากปัญหานักท่องเที่ยวล้น ปัญหาขยะที่เกิดจากการท่องเที่ยวและสภาวะที่วัฒนธรรรมปกาเกอะญอเริ่มจางหายไปจากคนรุ่นใหม่ หลักคิด คำสอน ปรัชญา และความเป็นปกาเกอะญอซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่สร้างความมั่นคงในชีวิตให้กับชาวปกาเกอะญอ จากอดีตจนถึงปัจจุบันเริ่มหาผู้สืบทอดรุ่นใหม่ได้ยาก และองค์ความรู้เหล่านี้ไม่เคยสอนในโรงเรียนทั้งที่เป็นวิถีชีวิตของชุมชนโรงเรียนของชุมชนและการศึกษาละเลยการให้คุณค่ากับชาติพันธุ์ ไม่สามารถทำให้เด็กภาคภูมิใจในตนเอง และหลายครั้งการศึกษาพรากคนออกจากท้องถิ่น คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด ...

โครงการเส้นทางเรียนรู้เส้นสายลายผ้า 4 ชาติพันธุ์ โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว แม่แจ่ม ต.ช่างเคิง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เมืองแม่แจ่มดินแดนในอ้อมกอดของขุนเขา โอบล้อมด้วยธรรมชาติห่างไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีคนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกันไม่ว่าจะเป็นชนเผ่าปกาเกอะญอ ชนเผ่าลัวะหรือละว้า ชนเผ่ามัง และคนพื้นเมืองหรือคนเมือง แต่ละชาติพันธุ์มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชนเผ่าได้อย่างสมบูรณ์อย่างไรก็ตามคนรุ่นใหม่เริ่มค่อย ๆ ห่างไกลจากวิถีชมชน และไม่มีโอกาสได้เรียนรู้คุณค่าภูมิปัญญาของแต่ละชาติพันธุ์ในพื้นที่อย่างลึกซึ้ง ดังนั้นจึงควรหาวิธีการสื่อสารเพื่อนำเรื่องผ้ามาเล่าถึงความหลากหลายของชาติพันธุ์ และความเป็นพหุวัฒนธรรรมในแม่แจ่มการเรียนรู้ผ้าชาติพันธุ์เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เด็กและเยาวชนเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาที่จะต่อยอดสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้อย่างดี คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด ...

โครงการเดินเมืองบันนังสตา แม่น้ำปัตตานีสายธารแห่งชีวิต จ.ยะลา แม้มีต้นทุนเป็นชุมชนที่รุ่มรวยด้วยประวัติศาสตร์ วัฒนธรรรม อาหาร สถานที่ มีแม่น้ำปัตตานีที่สวยงามไหลผ่านหล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนแต่ด้วยสถานการณ์ความไม่สงบอันยาวนานที่ผ่านมา ทำให้คนนอกพื้นที่มองบันบังสตาเป็นพื้นที่สีแดง มีภาพลักษณ์น่ากลัว เป็นที่รู้จักในทางลบ ไม่มีคนอยากมาเยี่ยมเยือน เยาวชนในพื้นที่จึงต้องการสร้างภาพจำใหม่ให้บันนังสตาจากเมืองอันตรายมาเป็นเมืองที่เคารพความหลากหลายทางอัตลักษณ์และวัฒนธรรม โดยสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ วัฒนธรรรม อาหารการกิน การละเล่นพื้นบ้าน และรูปภาพที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด ...

โครงการยาลอ : เรียบรู้และฟื้นฟูหัวเมืองเก่าทางประวัติศาสตร์ โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ต.บาโงยซิแน อ.ยะหา จ.ยะลา พื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์ชุมชน ทรัพยากรชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีเมืองเก่ายาลอชุมชนเก่าแก่ที่น่าอนุรักษ์ น่าท่องเที่ยว และน่าเรียบรู้เป็นต้นทุนทรงคุณค่าที่หากคนในพื้นพื้นที่สามารถนำออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ก็จะช่วยให้เมืองเก่าแก่แห่งนี้ยืนหยัดรับมือกระแสการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของชุมชนได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น เมื่อประกอบกับการมีเครือง่ายทางสังคมที่เข้มแข็ง มีผู้นำศาสนา ผู้นำทางความคิด ปราชญ์ชาวบ้านที่พร้อมร่วมกันสนับสนุนกิจกรรมของเยาวชน และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ทรงคุณค่าและหาได้ยากให้แก่เยาวชนได้นำไปต่อยอดสื่อสารในทางสร้างสรรค์ก็ยิ่งทำให้พื้นที่นี้มีมีศักยภาพเป็นเมืองที่นับรวมทุกคนได้ คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด ...

โครงการพลเมืองเยาวชนร่วมสร้างเมืองของทุกคนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม เมื่อพบว่าในพื้นที่บ้านท่าขอนยาง ชุมชนที่อยู่ติดมหาวิทยาลัยมีนิสิตอาศัยอยู่ในหอพักจำนวนมาก และมีปัญหาการกำจัดขยะของชุมชุมชน โดยที่ผ่านมาชาวบ้านทิ้งขยะไว้รอเทศบาลมาเก็บ หรือนำไปเผาบริเวณริมแม่น้ำชีท้ายหมู่บ้าน จนทำให้กลายเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม ดังนั้นจึงมีการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาขยะในชุมชนเมืองโดยใช้แนวคิด "ขยะที่มากว่าขยะ" เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมสร้างการเรียนรู้ เพื่อให้ขยะในชุมชนลดลงดำเนินงานภายใต้ความรับผิดชอบของชมรมสื่อสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีโอกาสร่วมเรียนรู้ ร่วมคันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการสร้างสรรค์ที่มาจากความคิดของคนทุกส่วนในเมือง เช่น การสร้างความหมายใหม่ให้กับการจัดการขยะ การสร้างพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อเปิดตลาดรีไซเคิลขยะ การสร้างเรื่องเล่าจากขยะ เป็นต้น คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด ...

โครงการก(ล)างธงชัย : ใจกว๊างกว้าง มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จ.สกลนคร ชุมชนคุ้มกลางธงชัย ชุมชนเก่าแก่ที่ถูกปิดล้อมไว้ท่ามกลางปัญหาเชิงโครงสร้างของราคาอสังหาริมทรัพย์ของเมืองที่เจริญเติบโตขึ้นตามยุคสมัย ในขณะที่จังหวัดสกลนครมีนโยบายเรื่องการพัฒนาเมืองเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โครงการก(ล)างธงชัย : ใจกว้างกว้าง มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร จึงต้องการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนคุ้มกลางธงชัยที่เกือบจะกลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรมกลางเมืองให้เป็นพื้นที่สาธารณะ และปรับเปลี่ยนมาเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้ แม้แต่บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นและการได้ยินก็สามารถมาชื่นชมศิลปวัฒนธรรรมภายในชุมชนได้ทัดเทียมกับคนทั่วไป รวมถึงเกิดการสื่อสารสาธารณะระหว่างผู้คนในพื้นที่ผ่านกิจกรรมเสริมพลังชุมชนที่พยายามสร้างพื้นที่เมืองเก่าให้ฟื้นคืนเป็นย่านเมืองที่มีชีวิตชีวา คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด ...