สาระความรู้
-1
archive,paged,category,category-71,paged-8,category-paged-8,bridge-core-2.1.7,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-title-hidden,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-20.4,qode-theme-bridge,qode_header_in_grid,wpb-js-composer js-comp-ver-6.1,vc_responsive

สถานการณ์ผลกระทบในเด็กไทย จากงานวิจัยเอแบคโพลล์ในปี 2546 เรื่อง “ผลกระทบสื่อโทรทัศน์ต่อเด็ก” พบว่าพ่อแม่ผู้ปกครองสังเกตเห็นว่า รายการโทรทัศน์ทีผลต่อพฤติกรรมของเด็ก ในระดับปานกลาง ค่อนไปทางมากตั้งแต่การซื้อสินค้าตามโฆษณา (เด็กจะซื้อของเล่นและขนมตามโฆษณาร้อยละ 46.4 ของเงินที่ได้รับ) การเลียบแบบท่าทางในการ์ตูน ทั้งการแต่งตัว พูดก้าวร้าว ใช้คำด่า ชกต่อย ตบตีเรื่อง “ผลกระทบสื่อโทรทัศน์ต่อเด็ก” พบว่าพ่อแม่ผู้ปกครองสังเกตเห็นว่า  ทางออก ดูทีวีกับลูก การได้นั่งดูโทรทัศน์กับลูกเป็นโอกาสที่พ่อแม่ไม่ควรพลาด เพราะเด็กๆจะมีคำถามต่างๆ การที่มีพ่อแม่อยู่ด้วยจะทำให้คำถามนั้นมีคำตอบ เด็กเล็กๆ ยังแยกแยะไม่ออกว่าโลกในโทรทัศน์แตกต่างจากโลกความจริงอย่างไร กฎทอง 4 ข้อสำหรับลูก คือ  ความแตกต่างระหว่างคนจริงกับตัวละคร ความแตกต่างระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องสมมติ ชี้ชวนลูกดูโทรทัศน์รายการดีๆ โทรทัศน์เมื่อเปิดได้ก็ปิดได้ ควรจะต้องคอยควบคุมเวลาในการดูโทรทัศน์ของลูกๆ  โดยเริ่มหัดตั้งแต่ตอนที่เขายังเป็นเด็กเล็ก ...

ผลสำรวจเด็กไทย "ติดเกม-เล่นออนไลน์" ปี 2556 พุ่ง 2.7 ล้านคน จากเยาวชน 18 ล้านคน จากข้อมูลจากแบบสำรวจที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร่วมกับสถาบันสุขภาพจิตและวัยรุ่น กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข เก็บข้อมูลเด็กและเยาวชนกลุ่มตัวอย่าง 2 หมื่นคนทั่วประเทศ ระหว่างเดือนมี.ค.-มิ.ย.2556 น.พ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวถึง 4 อาการ "เด็กติดเกม" ที่พ่อแม่ควรรู้ 1.กลุ่มอาการแสวงหาการเล่น คือ จะเล่นเกมทุกเวลาที่ว่าง 2.กลุ่มอาการชินชากับการเล่น คือ ต้องเล่นนานขึ้นจึงจะสนุกเป็นที่พอใจ 3.กลุ่มอาการขาดการเล่นไม่ได้ จะมีอาการหงุดหงิดและก้าวร้าว จนถึงขั้นทำร้ายพ่อแม่ผู้ปกครอง พยายามฆ่าตัวตาย เมื่อถูกห้ามไม่ให้เล่นเกม หรือหงอยเหงาหากไม่ได้เล่นเกมอารมณ์แปรปรวนง่าย ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ ถือว่าเข้าข่ายติดเกมรุนแรง 4.กลุ่มอาการเสียการทำหน้าที่หลัก เช่น เสียการเรียน เสียมนุษย์สัมพันธ์กับคนรอบข้าง เก็บตัวอยู่บ้านเพื่อเล่นเกม ไม่นอนในเวลากลางคืน เกมประโยชน์และโทษ ประโยชน์ของเกมนั้นมีหลายอย่าง การทำให้เกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนานแต่การเล่นเกมหรือการใช้อินเตอร์เน็ตนานๆ จะส่งผลกระทบได้ ทั้งต่อสุขภาพทางกาย เช่น โรคกระดูก โทษต่อสุขภาพจิต เช่นการมีมนุษยสัมพันธ์ต่างๆ และโทษต่อการผลิตผลงานของชีวิต เช่น เสียการเรียน ชวนมาเยียวยาพฤติกรรมติดเกม ระดับแรกเริ่มเล่นเกม  1.สร้างกติกาการเล่น การสร้างกติกาทำให้ลูกควบคุมตนเอง วินัยที่ดีคือการควบคุมตนเองให้ได้  ในเด็กเล็กพ่อ แม่สอนง่ายๆ โดยใช้นาฬิกาปลุก ตั้งนาฬิกาปลุกให้กับลูกให้เล่นเกมหนึ่งชั่วโมง พอเสียงดังกริ๊งๆๆๆ ต้องเลิก ให้เล่นได้เฉพาะเสาร์อาทิตย์ วันธรรมดาไม่ให้เล่น ในเด็กโตที่เริ่มติดเกม ให้เขาเป็นคนวางแผนเองว่าอยากจะลดชั่วโมงการเล่นเกมสัปดาห์ละกี่ชั่วโมง พ่อกับแม่ควรชวนลูกวางแผน ด้วยกันเช่นลูกเล่นเกมวันละ 10 ชม.สัปดาห์หน้าเราจะให้เล่นวันละ 9 ชม. สัปดาห์ถัดไปเป็นวันละ 8 ชม....

1.โทรแจ้งยกเลิกบริการได้ที่ call center ของผู้ให้บริการของแต่ละค่าย นั่นก็คือ ais call center 1175dtac call center 1678และ truemove care 1331  2.อ่านข้อความอย่างมีสติ ไม่อย่างนั้นจะเสียสตางค์ ...

กสทช.ออกประกาศเรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ พ.ศ. 2555 บังคับใช้วันที่ 4 เมษายน 2555 สาระสำคัญ ให้บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ในตลาดลดค่าบริการลงเหลือนาทีละไม่เกิน 99 สตางค์ หากฝ่าฝืนปรับวันละ 100,000 บาท ยิ่งมีลูกค้ามากต้นทุนค่าบริการยิ่งถูก และเมื่อผู้ให้บริการรายใหญ่ลดค่าบริการลงจะทำให้ผู้ให้บริการรายเล็กต้องแข่งขันเรื่องของราคาเช่นกัน ประโยชน์จึงตกอยู่กับผู้ใช้บริการ 1.ทำให้ใช้บริการในราคาที่เป็นธรรมและถูกลง  2. ทำให้ค่าไอซี (ค่าเชื่อมโยงโครงข่าย) มีอัตราถูกลงและต่ำกว่า 50 สตางค์/นาที แต่ถึงแม้จะมีประกาศออกมาทาง กสทช. ก็ยังได้รับเรื่องร้องเรียนการคิดค่าบริการเกิน 99 สตางค์อยู่เท่าทันและใช้สิทธิ์  1.พบผู้ให้บริการค่ายไหนคิดเกิน 99 สตางค์ โทรสายด่วน 1200 กสทช. 2.ถ้า กทค.ตรวจสอบว่าผิดจริง ผู้ให้บริการต้องคืนเงินให้กับผู้ใช้ รวมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 3.อ่านข้อมูลที่เครื่องหมายดอกจันทร์ * ให้เข้าใจ "ร้องทุกข์ 1 ครั้ง ดีกว่าบ่นพันครั้ง" ...

ข่าวนี้ทำให้หลายคนยก Facebook ให้เป็นพระเอกตัวจริงของการทำตลาดรายการทีวีในสังเวียนดิจิตอล เนื่องจาก Facebook คือเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เหล่าสมาชิกมีการพูดคุยและเปิดบทสนทนาที่เกี่ยวข้องกับรายการทีวีมากกว่า Twitter ถึง 10 เท่าตัว แต่มีข้อเสียอย่างเดียวคือการอ้างอิงหรือเอ่ย credit นั้นน้อยกว่า ผลสำรวจล่าสุดสะท้อนว่า ความเชื่อที่ยกให้ Twitter เป็นเครือข่ายที่เหมาะสมที่สุดสำหรับประชาสัมพันธ์รายการทีวี อาจไม่เป็นจริงเสมอไป เนื่องจากผลการศึกษาเผยให้เห็นว่า Facebook คือพื้นที่หลักที่เรื่องราวของรายการทีวีถูกกระจายอย่างรวดเร็ว มากกว่าความสามารถในการกระจายข้อความของ Twitter ที่เป็นจุดเด่นและทำให้นักวิเคราะห์เชื่อว่า Twitter คือความหวังของการตลาดรายการทีวี Twitter นั้นเป็นบริการที่เน้นการกระจายข่าวสาร ทำให้ถูกมองว่าเป็นเครือข่ายที่มีศักยภาพในการประชาสัมพันธ์รายการทีวีได้เป็นอย่างดี แต่จากการสำรวจของ ShareThis ผู้ให้บริการด้านการตลาดบนอินเตอร์เนต พบว่าตัวเลขสัดส่วนการแชร์ที่เกี่ยวกับรายการทีวีบนเครือข่ายของ Twitter นั้นอยู่ที่ 8.4% ของข้อความทวีตทั้งหมด ในขณะที่บน Facebook มีสัดส่วนอยู่ที่ 78.8% หรือมากกว่าเกือบ 10 เท่าตัว ทาง ShareThis กล่าวว่าข้อดีของ Twitter ในด้านความรวดเร็วในการส่งต่อข้อความ ในแง่หนึ่งก็กลายมาเป็นผลลบต่อการประชาสัมพันธ์รายการทีวีเหมือนกัน เพราะระยะเวลาที่ข้อความเหล่านี้จะแสดงให้เห็นบนเครือข่ายมีเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้ว ข้อความบน Facebook แต่ละอันมีอายุเฉลี่ยตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไปหรืออาจเป็นวันก็ได้ นอกจากนี้ ShareThis ได้ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมการดูทีวีของผู้บริโภคในปัจจุบันเปลี่ยนจากการรอดูตามเวลาที่ออกอากาศ กลายเป็นการอัดเก็บไว้ดูทีหลัง หรือการดูย้อนหลัง ผ่านทางบริการวิดีโอออนไลน์อย่าง Hulu หรือ Netflix ทำให้ข้อได้เปรียบของ Twitter ไม่มีผลอะไรมากนัก ข่าวนี้ถือเป็นข่าวที่ไม่สู้ดีนักเพราะเกิดขึ้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของ Twitter ที่กำลังนับถอยหลังการเปิดจำหน่ายหุ้น IPO สำหรับนักการตลาด ขอให้ถือว่าข่าวนี้เป็นเครื่องหมายสะท้อนว่าเครือข่ายแต่ละแห่งต่างก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน การเลือกใช้ก็ควรจะคำนึงถึงรูปแบบสินค้าหรือบริการของลูกค้าให้ดี เพื่อให้การประชาสัมพันธ์มีประสิทธิภาพมากที่สุด ที่มา :VentureBeat และ http://mediamonitor.in.th ...

การติดต่อสื่อสารผ่าน เฟซบุ๊ก ไลน์ วอทแอพ และวีแชต ฯลฯ ผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และโน้ตบุ๊กได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและคนทำงาน นอกจากความทันสมัย ฉับไวด้านข้อมูลข่าวสาร ยังมีภัยสำหรับคนคลั่งแชทที่อาจเกิดกับคุณอยู่ตอนนี้ก็ได้ ไปดูว่ามีโรคอะไรกันบ้าง 1) โรคเศร้าจากเฟซบุ๊ก ว่ากันว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีคนเล่นเฟซบุ๊กมากที่สุดในโลกหรือราว 12 ล้านคน ส่วนทั้งประเทศมีผู้ใช้เฟซบุ๊กทั้งหมด 18 ล้านคน คิดเป็น 27% ของประชากรทั่วประเทศ จัดอยู่ในอันดับที่ 13 ของโลก การศึกษาของมหาวิทยาลัยมิชิแกน นำโดยศาสตราจารย์ อีธาน ครอสส์ ได้รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 82 คน ซึ่งใช้บริการเฟซบุ๊กบนสมาร์ทโฟนเป็นประจำ พบว่าการใช้ เฟซบุ๊ก มากเกินไปอาจกลายเป็นการบั่นทอนความสุขและความพึงพอใจในการดำรงชีวิต เช่น โดดเดี่ยว เศร้า และเหงาหงอยมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้คนส่วนใหญ่ใช้เฟซบุ๊กเป็นเครื่องระบายความรู้สึกมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิดความรู้สึกว้าเหว่ สอดคล้องกับงานวิจัยจากเยอรมนี เมื่อต้นปีที่พบว่า 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เฟซบุ๊ก มีทัศนคติต่อตัวเองในแง่ลบ...

โฆษณาไม่บอกว่าหวาน แค่ไหน ข้อมูลของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่นำเสนอใน รายการ Fat Fact ความจริงรอบพุง ออกอากาศทางช่อง ThaiPBS ไปดูน้ำตาลที่ซ่อนอยู่ในกระป๋องกัน และถ้าดื่มลงไปแล้วจะต้องทำกิจกรรมอื่น ๆ นานแค่ไหนถึงจะเผาพลังงานออกไปได้หมด "น้ำอัดลมน้ำดำ" 1 กระป๋อง มีน้ำตาล 8.5 ช้อนชา เท่ากับต้องวิ่ง 30 นาที หรือถูบ้าน 75 นาที (เทียบกับเด็กน้ำหนัก 30 กิโลกรัม)"น้ำอัดลมน้ำสี" 1 กระป๋อง มีน้ำตาล 10.25 ช้อนชา เท่ากับต้องวิ่ง 45 นาที หรือถูบ้าน 90 นาที (เทียบกับเด็กน้ำหนัก 30 กิโลกรัม)"น้ำอัดลมน้ำใส" 1 กระป๋อง มีน้ำตาล...

น้ำใส่ลม?  น้ำอัดลม เข้ามาในประเทศไทยนานมากแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 เป็นเครื่องดื่มที่มีน้ำ น้ำตาล สารให้ความหวานส่วนผสมของสารที่ให้กลิ่นและสี และกรดคาร์บอนิก เป็นส่วนประกอบ มีทั้งประเภทเติมคาเฟอีน เช่น โคล่า ชนิดที่ใช้น้ำตาลเป็นสารให้ความหวาน และชนิดที่ใช้สารทดแทนความหวาน เช่น แอสปาเทม และประเภทไม่มีคาเฟอีน เป็นน้ำอัดลมที่เติมหัวเชื้อกลิ่นน้ำผลไม้ต่าง ๆ ที่ได้จากการสังเคราะห์ กลยุทธ์การตลาด โฆษณาโดยใช้ดาราเป็นพรีเซนเตอร์ สร้างบรรยากาศสนุกสนาน น้ำอัดลมขวดละ 10 บาท จะมีค่าโฆษณาเฉลี่ย 3 บาท สร้างแบนด์ให้เกิดการจดจำ ทั้งโฆษณาที่โต๊ะและป้ายในร้านอาหาร แจกของพร้อมติดโลโก้ เพื่อให้จดจำชิงโชค สะสมแลกของ เพื่อกระตุ้นยอดขายสร้างค่านิยมความทันสมัยไม่ดื่มไม่ทันสมัย อ้างอิงข้อมูล  - รายการใจดีสู้สื่อ ตอน น้ำอัดลม โดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน - เบื้องหลังขบวนการ 3 กำลังสูง,นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 146 ,บทสัมภาษณ์ นงนุช ใจชื่นนักวิจัย แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข - รายการ Fat...