สถานการณ์วิกฤต อย่างการระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบัน ทำให้โลกออนไลน์มีการแชร์ข้อมูลกันอย่างเร่งรีบ และในบางครั้งเราตกลงปลงใจเชื่อข้อมูลข่าวปลอมนั้นโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะข้อมูลที่ถูกระบุว่าเป็นข่าวหรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญ ๆ
วันนี้ สสย. จะพาทุกท่านมาดูเหตุผลกันว่า ทำไมคนเราถึงหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ น่าจะหนีไม่พ้น ...
ในภาวะข้อมูลล้นเกิน Fake News อาจปะปนมากับข้อมูลข่าวสารและอาจมาในหลากหลายรูปแบบ..วันนี้ สสย. จึงพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ 10 ประเภทของ Fake News ที่อาจจะช่วยคัดกรองเพื่อเป็นจุดสังเกตก่อนตัดสินใจเชื่อข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกเผยแพร่ในโลกออนไลน์ .. มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
#fakenews #newsliteracy
ข่าวพาดหัว ยั่วให้คลิก หรือ คลิกเบท (Clickbait) ข่าวที่ใช้คำหรือรูปภาพพาดหัวที่ทำให้ดูชวนสงสัยใคร่รู้ หรือดึงดูดใจให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไปคลิกเข้าไปอ่านผู้สร้างข่าวอาศัยประโยชน์จากความสงสัยโดยให้ข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ พอชวนให้ผู้อ่านสงสัย แต่ไม่พอจะขจัดความสงสัยนั้น จนต้องคลิกเข้าไปดูเนื้อหานั้น ๆ ทั้งที่เนื้อข่าวอาจไม่คำนึงถึงคุณภาพหรือความถูกต้องของข้อมูล แต่การพาดหัวทำให้คนหลงกลคลิกเข้าไปเพื่อเรียกยอดวิวในเว็บไซต์นั่นเอง
โฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) เป็นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่มุ่งชักจูงทัศนคติของผู้รับสารต่ออุดมการณ์หรือมุมมองบางอย่างโดยการนำเสนอการให้เหตุผลเพียงข้างเดียว การโฆษณาชวนเชื่อ มักทำซ้ำและกระจายในสื่อหลายชนิดเพื่อหวังผลให้ผู้รับสารเชื่อและคล้อยตามอุดมการณ์ที่ผู้ส่งสารต้องการสื่อ
ข่าวแฝงการโฆษณา (Sponsored content, Native Advertising) รูปแบบโฆษณาที่ใช้รูปแบบเนื้อหาแนบเนียนกับเนื้อหาปกติในเว็บไซต์นั้น ๆ หรือแนบเนียนไปกับสิ่งแวดล้อมของแพลตฟอร์มของสื่อนั้น ๆ ที่เป็นอยู่ พร้อมทำหน้าที่ให้เนื้อหาที่คนต้องการรับรู้...
"4 ทักษะรับมือ FAKE NEWS สงสัย ให้เหตุผล สะท้อน และเปิดใจรับฟัง"
ที่มา NEWS LITERACY FRAMEWORK : The Economist / EDUCATIONAL FOUNDATION
...
“เท่าทันสื่อ สร้างเมืองด้วยมือของทุกคน” ได้รวบรวมแนวคิด ความเห็นและมุมมองจากกิจกรรมและการทดลองใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในโครงการย่อยของ MIDL for Inclusive Cities : สร้างเมืองของทุกคน รวมทั้งการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดเรื่องเมือง สิทธิที่จะอยู่ในเมือง เมืองที่นับรวมทุกคน และเท่าทันสื่อ เท่าทันข้อมูลข่าวสาร เท่าทันดิจิทัลในบริบทของความเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมอีกด้วย
Download
...
เขียนและเรียบเรียง : ดร.สรานนท์ อินทนนท์
บรรณาธิการ : เข็มพร วิรุณราพันธ์, ลักษมี คงลาภ
ไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่ที่ใช้เวลาหน้าจอมากขึ้น แต่จำนวนเด็กไทยที่มีพฤติกรรมติดหน้าจอเริ่มมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ เป็นเรื่องที่น่ากังวลมากที่พ่อแม่สมัยใหม่ใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด โดยปล่อยให้อุปกรณ์ดิจิทัลเป็นพี่เลี้ยงเด็ก ดังที่เคยเห็นเด็กเล็ก วัยไม่ถึง 2 ขวบ สามารถใช้สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว โดยพ่อแม่ไม่ทราบว่า หากใช้โดยไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี อุปกรณ์เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็กได้ เด็กไทยจำนวนไม่น้อยยังไม่สามารถสร้างความสมดุลระหว่างกิจกรรมที่ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอไม่ว่าจะเป็นสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ กับกิจกรรมอื่น ๆ ได้
ดังรายงานสถานการณ์ของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นในปี 2560 ที่พบว่าเด็กป่วยเป็นโรคติดเกมรายใหม่เข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นจากปี 2559 ถึง 6 เท่าตัว และล่าสุดในปี 2562 องค์การอนามัยโลกได้ให้ความสำคัญต่อการใช้เวลาหน้าจอของเด็ก โดยการออกแนวทางแนะนำการใช้เวลาหน้าจอสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ดังนั้น การบริหารจัดการเวลาหน้าจอ (Screen Time Management) ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะความฉลาดทางดิจิทัล...
เขียนและเรียบเรียง : ดร.สรานนท์ อินทนนท์
บรรณาธิการ : เข็มพร วิรุณราพันธ์, ลักษมี คงลาภ
การเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัลจึงเป็นประเด็นที่พลเมืองดิจิทัลควรให้ความสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น การเรียนรู้มารยาททางอินเทอร์เน็ต (Digital Etiquette) และการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy) เป็นทักษะที่ช่วยให้เราใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม รู้จักการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานอื่นด้วยมารยาทอันดี รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา โดยเข้าอกเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ที่มีความแตกต่างจากเรา ไม่เพิกเฉยเมื่อเห็นผู้อื่นได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องในสังคม และมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น อันเป็นคุณลักษณะของพลเมืองประชาธิปไตย
Download
...
เขียนและเรียบเรียง : ดร.สรานนท์ อินทนนท์
บรรณาธิการ : เข็มพร วิรุณราพันธ์, ลักษมี คงลาภ
ถึงแม้ว่าความรวดเร็วในการรายงานข่าวทางออนไลน์จะช่วยทำให้ผู้อ่านรับข้อมูลข่าวสารอย่างทันท่วงที แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือข่าวออนไลน์บางส่วนไม่ได้รับการกลั่นกรองคุณภาพและความถูกต้อง เนื่องจากเป็นสื่อที่เปิดกว้าง และไม่ได้ถูกจำกัดว่าเป็นข่าวนำเสนอจากสื่อมวลชนกระแสหลักแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป นอกจากนี้ ข่าวที่นำเสนอผ่านทางหน้านิวส์ฟีดของโซเชียลมีเดียยังสามารถถูกส่งต่อหรือแบ่งปันให้ผู้อื่นอ่านต่อได้ในวงกว้าง ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการแพร่กระจายของข่าวสารอย่างรวดเร็วและสร้างอิทธิพลต่อความคิดของคนในสังคมเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีสร้างข่าวปลอมเข้ามาปะปนกับข่าวอื่นๆ บนโลกออนไลน์ จนทำให้ผู้อ่านหลงเชื่อข่าวปลอม ข่าวลือ หรือ ข่าวบิดเบือนเพราะไม่รู้เท่าทันสื่อเหล่านี้
พลเมืองดิจิทัลจึงควรมีทักษะในการรู้เท่าทันข่าว มีวิจารณญาณแยกแยะได้ว่าข่าวใดเป็นข่าวปลอม มีทักษะในการวิเคราะห์และตรวจสอบเพื่อที่จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องในการแสดงความคิดเห็น รู้จักประเมินและเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดสังคมประชาธิปไตยที่ผู้คนแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและแสดงความคิดเห็นบนข้อเท็จจริงและเหตุผล
Download
...
เขียนและเรียบเรียง : ดร.สรานนท์ อินทนนท์
บรรณาธิการ : เข็มพร วิรุณราพันธ์, ลักษมี คงลาภ
โลกดิจิทัลได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันในหลายๆ ด้าน เช่น วิธีการติดต่อกับเพื่อนและคนรู้จัก การทำธุรกรรมทางการเงิน การซื้อขายสินค้า และการรับชมสันทนาการความบันเทิงต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามโลกไซเบอร์ซึ่งรวมถึง อินเทอร์เน็ต เครือค่ายสังคมออนไลน์ โทรศัพท์มือถือ เกมออนไลน์ แอปพลิเคชั่น และอื่นๆ ยังมีภัยคุกคามที่แฝงมากับความสะดวกสบายและความบันเทิงเหล่านี้ด้วย
Download
...
เขียนและเรียบเรียง : ดร.สรานนท์ อินทนนท์
บรรณาธิการ : เข็มพร วิรุณราพันธ์, ลักษมี คงลาภ
การรู้เท่าทันการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและใส่ใจไม่ว่าจะเป็น เด็กและเยาวชนที่ควรได้รับการปลูกฝังให้รู้จักป้องกันตัวเอง พ่อแม่และโรงเรียนควรจะเข้าใจในการให้คำปรึกษา และภาคเอกชนผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต สื่อดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ ควรจะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายและระเบียบกติกาการใช้สื่อคอมพิวเตอร์และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสามารถจัดการปัญหาเบื้องต้นได้หากพบว่ามีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้น มีรายงานสำรวจหลายชิ้นบ่งบอกว่า ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา สถิติของการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์มีจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ
Download
...
เขียนและเรียบเรียง : ดร.สรานนท์ อินทนนท์
บรรณาธิการ : เข็มพร วิรุณราพันธ์, ลักษมี คงลาภ
ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ: Digital Intelligence Quotient) คือ กลุ่มความสามารถทางสังคม อารมณ์ และการรับรู้ ที่จะทำให้คนคนหนึ่งสามารถเผชิญกับความท้าทายของชีวิตดิจิทัล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตดิจิทัลได้ ความฉลาดทางดิจิทัลครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในฐานะสมาชิกของโลกออนไลน์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทักษะการใช้สื่อและการเข้าสังคมในโลกออนไลน์
Download
...