สาระความรู้
-1
archive,paged,category,category-71,paged-2,category-paged-2,bridge-core-2.1.7,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-title-hidden,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-20.4,qode-theme-bridge,qode_header_in_grid,wpb-js-composer js-comp-ver-6.1,vc_responsive

ไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่ที่ใช้เวลาหน้าจอมากขึ้น แต่จำนวนเด็กไทยที่มีพฤติกรรมติดหน้าจอเริ่มมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ เป็นเรื่องที่น่ากังวลมากที่พ่อแม่สมัยใหม่ใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด โดยปล่อยให้อุปกรณ์ดิจิทัลเป็นพี่เลี้ยงเด็ก ดังที่เคยเห็นเด็กเล็ก วัยไม่ถึง 2 ขวบ สามารถใช้สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว โดยพ่อแม่ไม่ทราบว่า หากใช้โดยไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี อุปกรณ์เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็กได้ เด็กไทยจำนวนไม่น้อยยังไม่สามารถสร้างความสมดุลระหว่างกิจกรรมที่ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอไม่ว่าจะเป็นสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ กับกิจกรรมอื่น ๆ ได้ ดังรายงานสถานการณ์ของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นในปี 2560 ที่พบว่าเด็กป่วยเป็นโรคติดเกมรายใหม่เข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นจากปี 2559 ถึง 6 เท่าตัว และล่าสุดในปี 2562 องค์การอนามัยโลกได้ให้ความสำคัญต่อการใช้เวลาหน้าจอของเด็ก โดยการออกแนวทางแนะนำการใช้เวลาหน้าจอสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ดังนั้น การบริหารจัดการเวลาหน้าจอ (Screen Time Management) ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะความฉลาดทางดิจิทัล (DQ) จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พลเมืองดิจิทัลควรฝึกฝน เพื่อจะได้รู้เท่าทันสื่อ และรู้จักการจัดสรรเวลาหน้าจอให้กับตนเองและคนรอบข้าง เขียนและเรียบเรียง...

ในระบบการศึกษาแบบไทยโดยภาพรวมเราปฏิเสธไม่ได้ว่าวัฒนธรรมแบบครอบงำนั้นมีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาชาติเป็นอย่างมาก จึงเป็นที่น่าสนใจว่าแนวคิดวัฒนธรรมแบบครอบงำนี้ถูกสอดแทรกผ่านเครื่องมือการจัดการศึกษาในรูปแบบใดบ้างจึงทำให้การศึกษาไทยยังก้าวไม่ข้ามกรอบแนวคิดการสร้างเด็กดีมีวินัยเสียที ที่มา: อวยพร เขื่อนแก้ว. (2564). ห้องเรียนเปลี่ยนวัฒนธรรม ถอนรากถอนโคนการศึกษาแบบอำนาจนิยม #ให้มันจบที่รุ่นเรา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.). อ่านและดาวน์โหลดได้ที่ : http://cclickthailand.com/book1/ ...

ทุกวันนี้คำว่าอำนาจถูกพูดถึงอยู่ในทุกระบบโครงสร้างสังคมไทย หนึ่งในนั้นคือแนวคิดเรื่องอำนาจในระบบการศึกษา.ถ้าจะให้วิเคราะห์กันจริงจัง อาจจะต้องอ้างถึงไรแอน ไอสเลอร์ นักสังคมศาสตร์ชาวอเมริกัน เชื้อสายออสเตรีย ที่ได้พัฒนาทฤษฎีพัฒนาการทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ซึ่งมีใจความว่าด้วยวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของโลกนั้นถูกขับเคลื่อนในรูปแบบวัฒนธรรมแบบครอบงำ และวัฒนธรรมอำนาจร่วม ซึ่งทั้งสองรูปแบบนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันตั้งแต่ระดับแนวคิดไปจนถึงผลลัพธ์การออกแบบในเชิงระบบโครงสร้างทางสังคม แล้วอำนาจในระบบโครงสร้างการศึกษาไทยเป็นแบบไหนกันนะ? ที่มา: อวยพร เขื่อนแก้ว. (2564). ห้องเรียนเปลี่ยนวัฒนธรรม ถอนรากถอนโคนการศึกษาแบบอำนาจนิยม #ให้มันจบที่รุ่นเรา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) อ่านเพิ่มและดาวน์โหลดได้ที่ : http://cclickthailand.com/book1/ ...

เมือง สัมพันธ์กับชีวิต ความหลากหลายของผู้คนและวิถีชีวิตการออกแบบพื้นที่เมืองโดยมีแนวคิดเบื้องหลัง ที่ต้องการให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ใช้ประโยชน์ และเข้าถึงคนทุกคนอย่างเท่าเทียม จึงเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อโจทย์ คือบันไดที่เป็นมากกว่าบันได..มองได้หลากหลายมิติ เป็นทั้งเครื่องมือสื่อสาร และเป็นพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ของผู้คน บันไดจะเชื่อมโยงถึงคน-เมือง-ความเป็นสาธารณะ-การสื่อสาร-และการอมีส่วนร่วมได้อย่างไร ติดตามได้ใน Set Quote เวทีแลกเปลี่ยน เมือง เปิดกบาล ...

สารดคีนี้ เป็นหนึ่งในกิจกรรมโครงการสัปดาห์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อเมืองของทุกคน ประจำปี 2563 MIDL for Inclusive Cities 2020 : "ละอ่อน ฮ่วมใจ๋ ตีฆ้อง แป๋งเมือง" ภายใต้นวัตกรรมแนวคิด MIDL โดย สสย. ร่วมกับ สสส. และภาคีเครือข่าย MIDL ภาคเหนือ เปิดพื้นที่ให้เยาวชนพลเมืองดิจิทัลสื่อสารอย่างเท่าทันและสร้างสรรค์ เสียงจาก : เด็กและเยาวชน ในโรงเรียนเทศบาลตำบลตลาดใหญ่สำหรับน้องๆของโรงเรียนบ้านจ้อง ต่างกล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า ผักที่ถูกนำมาขาย พวกตนได้เข้าไปเริ่มต้นตั้งแต่การเตรียมดิน ปลูก รดน้ำ และเก็บผลผลิตมาขาย ที่สำคัญ ยังได้นำสื่อดิจิทัลที่มีวิทยากรมาสอนที่โรงเรียนได้มาสร้างสรรค์ถ่ายทอดและนำไปทำคลิปวิดีโอ เพื่อส่งต่อกันในกลุ่มไลน์ และ tiktok กลายเป็นช่องทางสำคัญในการขายสินค้าของตนและคนในชุมชน มากกว่ารายได้...

นานาทัศนะ จาก การเสวนาออนไลน์ฟังเสียงเยาวชน : เมื่อดราม่ากระจายเร็วกว่า Covid เป็นหนึ่งในกิจกรรมโครงการสัปดาห์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อเมืองของทุกคน ประจำปี 2563 MIDL for Inclusive Cities 2020 : "ละอ่อน ฮ่วมใจ๋ ตีฆ้อง แป๋งเมือง" ภายใต้นวัตกรรมแนวคิด MIDL โดย สสย. ร่วมกับ สสส. และภาคีเครือข่าย MIDL ภาคเหนือ เปิดพื้นที่ให้เยาวชนพลเมืองดิจิทัลสื่อสารอย่างเท่าทันและสร้างสรรค์ เพื่อสร้างสังคมไทยสุขภาพดีไปด้วยกัน ...

ถอนรากถอนโคนการศึกษาแบบอำนาจนิยม #ให้มันจบที่รุ่นเรา เขียนและเรียบเรียง: อวยพร เขื่อนแก้ว บรรณาธิการ: เฌอทะเล สุวรรณพานิช คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด Download ...

ชุดนิทานภาพ “เด็กปฐมวัยรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล” เข้าใจ เท่าทัน ประยุกต์ใช้ 6 เรื่อง สำหรับเด็กเล็กวัย 3-6 ปี ที่จะชวนมาเปิดมุมมองการใช้ชีวิตอย่างสมดุลในยุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้เวลากับสื่ออย่างเหมาะสม การรักษาความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง การรู้เท่าทันและการใช้ข้อมูลข่าวสารในสื่อ ฯลฯ ที่พ่อแม่ คุณครูปฐมวัย หรือผู้ใหญ่ในบ้านสามารถชวนเด็ก ๆ มาเรียนรู้ทักษะการรู้เท่าทันสื่อร่วมกันผ่านนิทานภาพชุดนี้ ทอฟฟี่มหัศจรรย์ เรื่อง: ดร.แพง ชินพงศ์ภาพ: ชาญศิลป์ กิตติโชติพาณิชย์ คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด นกกะปูดตาแดง เรื่อง: อัปสร เสถียรทิพย์ เข็มพร วิรุณราพันธ์ภาพ: ปรีดา ปัญญาจันทร์ คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด ของใหม่กับเพื่อนเก่า เรื่อง: รักษิตาภาพ: วชิราวรรณ ทับเสือ กฤษณะ กาญจนาภา คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด เม่นน้อยหลงทาง เรื่อง: ฐิติกมล วทัญญุตานนท์ภาพ: Sawanee Draw คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋ว เรื่อง: ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ภาพ: พัดชา ดิษยนันทน์ คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด อลิซในวันมหัศจรรย์ เรื่อง: สรานนท์ อินทนนท์ภาพ:...

>> ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข่าว>> วิเคราะห์จุดประสงค์ในการนำเสนอข่าว>> แยกแยะข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น>> รับข่าวสารโดยไม่ใช้อคติ>> ตรวจสอบข่าวปลอมที่มักเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต #MIDL ...

แม้ว่าปัญหาข่าวปลอมจะได้รับการดูแลและจัดการจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคกฎหมายและนโยบายการป้องกันจากหลายภาคส่วน แต่สิ่งที่น่ากังวลคือความไม่รู้เท่าทันข่าวสารของตัวผู้ใช้งานเองที่ตกหลุมพรางของผู้สร้างข่าวปลอม ดังนั้น ผู้รับข่าวสารเองควรมีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อและรับมือกับข่าวปลอม 13 ทักษะสำคัญ คือ >> 1. ตรวจสอบวันที่ ว่าข่าวปลอมนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือไม่.>> 2. ตรวจสอบหลักฐาน แหล่งข้อมูลของผู้เขียน และการอ้างอิงจากผู้เชี่ยวชาญ.>> 3. สังเกตสิ่งผิดปกติ เช่น การสะกดคำผิด การจัดวางรูปแบบที่ดูไม่เป็นมืออาชีพเสียเท่าไหร่.>> 4. อย่าหลงเชื่อหัวข้อข่าว โดยเฉพาะพาดหัวข่าวที่สะดุดตา ใช้ตัวหนา เครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) หรือการพาดหัวข่าวแบบหวือหวา.>> 5. พิจารณารูปภาพ ข่าวปลอมมักใช้ภาพหรือวีดีโอตัดต่อ บิดเบือน หรือบางครั้งใช้ภาพประกอบที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์.>> 6. ข่าวนั้นเป็นมุกตลกหรือไม่ เราต้องแยกให้ออกระหว่างข่าวปลอมกับมุกตลก มุกตลกล้อเลียนเสียดสีจะมีน้ำเสียงการเล่าเพื่อความสนุกสนาน.>> 7. ตรวจสอบข้อมูลสนับสนุน เช่น ข้อมูลประกอบบทความ ความสมเหตุสมผล และเนื้อหาการนำเสนอที่อาจถูกหยิบยกมาเพียงบางส่วน.>> 8. ตรวจสอบแหล่งข่าว...