31 Mar เราทิ้งร่องรอยอะไรไว้บ้างในโลกออนไลน์??
ในภาวะที่สื่อโซเชียลมีเดียไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัวอีกต่อไป ...
ในภาวะที่สื่อโซเชียลมีเดียไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัวอีกต่อไป ...
จากกรณี ส.ส.หญิง ท่านหนึ่งไลฟ์สดถึงเพื่อนสมาชิกในสภาผู้แทนราษฎร จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมถึงความเหมาะสมของเนื้อหาในไลฟ์นั้น วันนี้สถาบันเด็กและเยาวชน (สสย.) จึงพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับหนึ่งในทักษะสำคัญในการเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัล (DQ Digital Intelligence) นั่นก็คือ "ทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง" (Digital Citizen Identity) . . แล้วอัตลักษณ์ที่ดีคืออะไร? การสร้างอัตลักษณ์ที่ดีบนโลกออนไลน์ คือ ความสามารถในการสร้างและบริหารจัดการอัตลักษณ์ที่ดีของตนเองไว้ได้ทั้งในโลกออนไลน์และโลกความจริง เสริมสร้างภาพลักษณ์ในโลกออนไลน์ของตนเองในแง่บวก ทั้งความคิด ความรู้สึก และการกระทำ โดยมีวิจารณญานในการรับส่งข่าวสารและแสดงความคิดเห็น มีความเห็นอก เห็นใจผู้ร่วมใช้งานในสังคมออนไลน์ และรู้จักรับผิดชอบต่อการกระทำ ไม่กระทำการที่ผิดกฎหมายและจริยธรรมในโลกออนไลน์ เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ การกลั่นแกล้งหรือการใช้วาจาที่สร้างความเกลียดชังผู้อื่นทางสื่อออนไลน์ อ่านเพิ่มเติมและดาวน์โหลดเอกสาร ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ: Digital Intelligence) ได้ที่: คลิ๊กเพื่ออ่านเพิ่ม ...
หลังจาก สนช. ได้มีการประกาศเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงทางไซเบอร์ ไปเมื่อวันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา เราลองมาดูกันว่า แล้วความเป็นส่วนตัวในโลกไซเบอร์หล่ะคืออะไร?? ความเป็นส่วนตัวในโลกไซเบอร์ คือ สิทธิการปกป้องข้อมูลความส่วนตัวในโลกออนไลน์ของผู้ใช้งานที่บุคคลหรือหน่วยงานอื่นจะนำไปจัดเก็บ นำไปใช้ประโยชน์ หรือนำข้อมูลนั้นไปเผยแพร่ ซึ่งส่วนหนึ่งของข้อมูลส่วนตัวของเราได้ถูกจัดเก็บไว้โดยผู้ให้บริการโทรศัพท์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งแม้จะมีนโยบายด้านความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานในระดับหนึ่ง แต่ก็มีพฤติการบางอย่าง ทั้งจากหน่วยงานจัดเก็บข้อมูลและบุคคลทั่วไปที่สามารถกระทบต่อความเป็ส่วนตัวในโลกไซเบอร์ได้ แล้วพฤติการใดบ้างที่จัดว่าเป็นการคุกคามความเป็นส่วนตัวไนโลกไซเบอร์ หาคำตอบได้จาก infographic นี้ อ่านความรู้เพิ่มเติมและดาวน์โหลดเอกสารได้ที่: คลิ๊กเพื่ออ่านเพิ่มเติม #cybersecurity #midl #รู้เท่าทันสื่อ ...
การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังทางออนไลน์ อาจมาในรูปแบบคำพูด ตัวอักษร ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ เพลง และการสื่อความหมายในเชิงสัญลักษณ์อื่น ๆ ผ่านพื้นที่ออนไลน์ เช่น Facebook, Twitter หรือ YouTube ซึ่งเป็นสื่อที่มีอำนาจมากที่สุดที่ผู้สื่อสารจะใช้แพร่กระจายสารแห่งความเกลียดชัง เนื่องจากสามารถสื่อสารได้ทั้งภาพและเสียง และมีฟังก์ชันในการส่งต่อหรือแบ่งปันสู่คนจำนวนมากได้อย่างง่ายดาย ผู้ที่ส่งสารอาจไม่คิดว่าการกระทำของตัวเองในโลกออนไลน์จะส่งผลกระทบต่อเหยื่อในชีวิตจริง โดยเฉพาะผลกระทบทางจิตใจ ซึ่งอาจนำไปสู่ความรู้สึกซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายได้ มากไปกว่านั้น การสร้าง Hate Speech ยังมีส่วนทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มบุคคล นำไปสู่การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายทางสังคมได้อีกด้วย คลิ๊กเพื่ออ่านเพิ่มเติม ...
มีดุลพินิจในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว รู้จักปกป้องข้อมูลความส่วนตัวในโลกออนไลน์โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลออนไลน์เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวทั้งของตนเองและผู้อื่น รู้เท่าทันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต เช่น มัลแวร์ ไวรัสคอมพิวเตอร์ และกลลวงทางไซเบอร์ อ่านฉบับเต็มได้ที่: คลิ๊กเพื่ออ่านเพิ่มเติม #DQ #MIDL ...
กิจกรรมของภาคีเครือข่ายจากหลายภูมิภาคทั่วประเทศไทยเข้าร่วมเดินทางในโครงการ MIDL for Inclusive Cities 10 กิจกรรมที่มาร่วมขยับ สร้างเมืองให้เป็น “เมืองของทุกคน” start! 1. พลเมือง ขยับ (นคร) สกล @สกลนคร โดย: ม.ราชภัฏสกลนคร :::พบกับกิจกรรม::: - ค่ายปฏิบัติการณ์นักข่าวพลเมือง Creative Learning Space การสื่อสาร(อนาคต)สกล: นครในมุมมองของเรา (12 – 14 ต.ค.) - เมือง “สกล(นคร)ที่เราออกแบบได้” ณ ห้องเรียนสถาปัตย์ - “Timeline เมืองสกล เราจะไปทางไหนกันดี” (31 ต.ค.) 2. เมืองใจกว้าง MIDL CITY @ปัตตานี สงขลา หาดใหญ่ โดย มอ.ปัตตานี – ม.ทักษิณ – กลุ่มปันรัก – กลุ่มมานีมานะ :::พบกับกิจกรรม::: - เมืองปัตตานีใจกว้าง :...
หลายครั้งที่เราคุ้นชินกับภาพการนำเสนอตัวละครต่าง ๆ ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะจนเกิดเป็นภาพจำ . . การผลิตซ้ำอัตลักษณ์ผ่านตัวละครส่งผลอย่างไรต่อสังคม? . . และเราจะสร้างและเสพสื่ออย่างไร? ให้อยู่บนฐานของความเข้าใจและการยอมรับอัตลักษณ์ที่หลากหลาย ...
การรังแกกันบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying) พฤติกรรมใดบ้างที่เรียกว่าเป็น cyberbullying ?? เมื่อถูก cyberbullying แล้วมันเจ็บแค่ไหน ?? . . จะหาทางออกให้ตัวเองได้อย่างไรเมื่อถูก cyberbullying ?? เด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่จะช่วยกันดูแลไม่ให้เกิด cyberbullying ได้อย่างไรบ้าง?? . . Infographic ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมเหล่านี้ อ่านผลการศึกษาวิจัยจากรายงานฉบับสมบูรณ์ การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น ปี 2560 จัดทำโดย อ.อัปสร เสถียรทิพย์ และคณะ โดยการสนับสนุนของสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ได้ที่ http://cclickthailand.com/…/งานศึกษาความรุนแรงในโซเชียลฯ.pdf ...
นิทานภาพ เรื่อง: กระต่ายน้อยไม่ตื่นตูม / เรื่องและภาพโดย: พาณี อิทธิบำรุงรักษ์ กระต่ายน้อยพึ่งรู้จักสื่อจอใสเป็นครั้งแรก เมื่อคุณแม่เลือกหานิทานแล้วนั่งดูด้วยกัน แต่กลับมีโฆษณาที่เร้าใจเข้ามาแทรกเป็นระยะๆ ทำให้กระต่ายน้อยอยากได้สินค้าตามโฆษณา คุณแม่จะมีวิธีอธิบายให้กระต่ายน้อยเข้าใจและรู้ทันได้อย่างไร มาติดตามกัน Download เรื่อง: หมาป่ากับลูกแกะ / เรื่องและภาพโดย: โอม รัชเวทย์ แม้แต่ในป่าใหญ่ สื่อออนไลน์ก็ยังเป็นที่นิยมของบรรดาสัตว์ทั้งหลาย เมื่อหมาป่าเกเรมาเจอลูกแกะเข้า และอยากกินลูกแกะ จึงคิดหาอุบายต่างๆนานา โดยใช้สื่อออนไลน์ ทั้งการตกแต่งภาพ การปลอมโพสต์ด่าว่า ฯลฯ ลูกแกะจะสามารถเอาตัวรอดได้หรือไม่ ติดตามความฉลาดรู้ทันสื่อของลูกแกะและเพื่อนสัตว์ในป่าจากเล่มนี้ Download เรื่อง: หนูมาลีกับสีฝุ่น / เรื่องและภาพโดย: สุดใจ พรหมเกิด,สมบัติ คิ้วฮก สีฝุ่นเป็นแมวที่มีความสุขมาก เพราะได้เล่นกับหนูมาลีทุกวัน แต่แล้ววันหนึ่งเมื่อหนูมาลีได้ของชิ้นใหม่เป็นจอใสใส ตั้งแต่นั้นเป็นมา หนูมาลีก็ไม่เล่น ไม่ให้ข้าวให้น้ำแก่สีฝุ่นอีกเลย ชีวิตของสีฝุ่นจะเป็นอย่างไรหนอ อยากรู้จัง Download การ์ตูน เรื่อง: ดีลีท / เรื่องและภาพโดย: สละ นาคบำรุง โทรศัพท์มือถือของน้องตาลตกแตกจนพัง เพราะความตกใจเสียงเพื่อน ๆ น้องตาลจึงหาทางแกล้งเพื่อนเพื่อเอาคืน โดยถ่ายภาพที่ไม่เหมาะสมของเพื่อนๆ และโพสต์ลงในสื่อออนไลน์ สร้างความวุ่นวายให้กับทุกคนในโรงเรียน แม้ว่าน้องตาลจะดีลีทภาพทุกภาพ และเข้าใจว่าภาพจะหายไปแล้วก็ตาม แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น...