แหล่งอำนาจของบุคคล มีที่มาทั้งจากสถานภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด เช่น เพศ วัย วงศ์ตระกูล ถิ่นที่อยู่อาศัย ชนชั้นทางสังคม อาชีพ ยศตำแหน่ง ชื่อเสียง การเป็นสมาชิกกลุ่มหรือสังกัดหน่วยงานใด ๆ ระดับการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ รูปร่างและรูปลักษณ์ สีผิว เชื้อชาติ สัญชาติศาสนา ความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนความเชื่อทางการเมืองและสังคม และอื่น ๆ ที่ส่งเสริมให้บุคคลนั้นมีอำนาจเหนือกว่า
เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วก็จะพบว่าครูมีแหล่งที่มาของอำนาจมากกว่านักเรียนหลายเท่าตัว จากสถานภาพความเป็นครู วัยวุฒิ คุณวุฒิ ในขณะที่นักเรียนแทบจะไม่มีแหล่งที่มาของอำนาจเลย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูต้องระมัดระวังในการใช้แหล่งอำนาจของตนเองในรูปแบบของการกดขี่หรือควบคุมนักเรียนให้เป็นไปตามที่ตนเองต้องการโดยไม่รู้ตัว ด้วยความเชื่อว่าการควบคุมนั้นเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง
ครูจึงจำเป็นต้องทบทวนตนเองอยู่เสมอว่า ในการใช้อำนาจของครูนั้นเป็นไปในลักษณะที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่ายหรือไม่ หรือได้สร้างให้เกิดผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจของนักเรียนอย่างไร และต้องแน่ใจว่าการใช้อำนาจนั้นจะไม่กลายเป็นการส่งต่อระบบอำนาจนิยมให้ดำเนินต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ที่มา: อวยพร เขื่อนแก้ว. (2564). ห้องเรียนเปลี่ยนวัฒนธรรม ถอนรากถอนโคนการศึกษาแบบอำนาจนิยม #ให้มันจบที่รุ่นเรา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.).
อ่านและดาวน์โหลดได้ที่ : http://cclickthailand.com/book1/
...
ชุมชนบ้านสันติสุข ต.ขุนควร อ.ปง จ.พะเยา26-27 มีนาคม 2565
ชุมชนบ้านสันติสุข เป็นชุมชนกลางหุบเขาดอยผาจิ ที่รายล้อมด้วยภูเขา ลำห้วยน้อยใหญ่ (ตั้งตระหง่านเหนือระดับน้ำทะเล 1,458 เมตร เขตรอยต่อระหว่างจังหวัดน่านกับจังหวัดพะเยา) โดยมี “ลำน้ำสาว” เป็นแม่น้ำสายสำคัญและยังเป็นพื้นที่เรียนรู้ฐานทรัพยากรธรรมชาติและวิถีของชุมชน
#GalleryWalkลำน้ำสาว : เดิน มอง ถอด เปลี่ยน เป็นหนึ่งในกิจกรรมการเรียนรู้สำคัญของโรงเรียนบ้านสันติสุข ภายใต้แนวคิดของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชน
เป็นกระบวนการเรียนรู้จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ สัตว์น้ำนานาชนิด และวิถีชีวิตของคนกับน้ำในการอุปโภค บริโภค ทำการเกษตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ฯลฯ รวมทั้งสภาพของลำน้ำที่เปลี่ยนแปลงไป
#เที่ยวบ้านเพื่อน No.7 ขอชวนกันออกเดินทางไปตะลุยและสำรวจลำน้ำสาวด้วยกัน ณ ชุมชนบ้านสันติสุข ต.ขุนควร อ.ปง จ.พะเยา 26-27 มีนาคม 2565 (ระยะเวลาในการเดินทางไปกลับและร่วมกิจกรรม คือ...
“วัฒนธรรมปกาเกอะญอ เริ่มจางหายไปจากคนรุ่นใหม่ ทั้งหลักคิด คำสอน ปรัชญาของปกาเกอะญอ และความเป็นปกาเกอะญอ องค์ความรู้เหล่านี้ไม่เคยสอนอยู่ในโรงเรียนทั้งๆ ที่เป็นวิถีชีวิต
ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงสำรวจ สืบค้นและสร้างการเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นปกาเกอะญอกับเด็กๆ ในชุมชน เกิดการค้นพบและออกแบบวิชาต่างๆ ภายใต้ต้นทุนที่ชุมชนมีทั้งพื้นที่ องค์ความรู้ ผู้รู้ในชุมชน โดยเราอยากจะเชื่อมโยงและส่งต่อความรู้เหล่านี้กับคนรุ่นใหม่ผ่านวิชาชุมชนที่เป็นวิชาชีวิต ทั้งการเล่นดนตรี ศิลปะการป้องกันตัว การเรียนรู้เกี่ยวกับธรรชาติ วิชาชีพของปกาเกอะญอ ทรัพยากรธรรมชาติ
โดยแก่นของแต่ละวิชามีหนึ่งเดียว คือ การดำรงชีวิตอยู่ของปกาเกอะญอ ที่เชื่อว่าชีวิตของผู้คนนั้นเชื่อมโยงกับทุกสรรพสิ่ง และนี่คือวิชาชีวิตของเรา”
#FriendDay#เที่ยวบ้านเพื่อน ขอชวนเหล่านักสื่อสารสุขภาวะ สสย. เดินทางขึ้นดอย ไปเที่ยวบ้านของเก่อเส่ทู หรือ เจริญ ดินุ ครูชุมชนแห่งโรงเรียนขยะลอแอะ และวงดนตรีขยะลอแอะ ชวนกันไปเดินสำรวจสวนคนขี้เกียจ ไร่หมุนเวียน ป่าชุมชน ลัดเลาะป่าต้นน้ำ เรียนรู้ปรัชญาและวิถีชีวิตความเป็นปกาเกอะญอ กับ #7วิชาปกาเกอะญอชุมชนบ้านหนองเต่า ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ การปรับตัว และการสร้างสรรค์นวตกรรมชุมชน ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม...
#FriendDay#เที่ยวบ้านเพื่อน “เที่ยวบ้าน รักษ์เขาชะเมา”.เมื่อพูดถึงกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เป็นที่รู้จัก ด้วยมีกิจกรรมที่ทำมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง จนสร้างคนรุ่นใหม่นักกิจกรรมมารุ่นแล้วรุ่นเล่า ...
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ร่วมกับ เครือข่ายผู้ใส่ใจนวัตกรรมเพื่อเยาวชนไทย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ‘การออกแบบและประเมินผลนวัตกรรมการสื่อสารของเยาวชน” ให้กับเยาวชนที่สนใจการออกแบบบอร์ดเกมการศึกษาด้านความหลากหลายทางเพศของเยาวชน และผู้สนใจ ระหว่างวันที่ 26 - 27 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ (TCDC) สาขาขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
...
ภาพบรรยากาศงานวันแรก ของการเปิดเทศกาลงานรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล MIDL for Inclusive Cities ละอ่อนฮ่วมใจ๋ ตีฆ้อง แป๋งเมือง ณ โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ อ.แม่สาย จ.เชียงราย
...
ไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่ที่ใช้เวลาหน้าจอมากขึ้น แต่จำนวนเด็กไทยที่มีพฤติกรรมติดหน้าจอเริ่มมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ เป็นเรื่องที่น่ากังวลมากที่พ่อแม่สมัยใหม่ใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด โดยปล่อยให้อุปกรณ์ดิจิทัลเป็นพี่เลี้ยงเด็ก ดังที่เคยเห็นเด็กเล็ก วัยไม่ถึง 2 ขวบ สามารถใช้สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว โดยพ่อแม่ไม่ทราบว่า หากใช้โดยไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี อุปกรณ์เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็กได้ เด็กไทยจำนวนไม่น้อยยังไม่สามารถสร้างความสมดุลระหว่างกิจกรรมที่ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอไม่ว่าจะเป็นสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ กับกิจกรรมอื่น ๆ ได้
ดังรายงานสถานการณ์ของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นในปี 2560 ที่พบว่าเด็กป่วยเป็นโรคติดเกมรายใหม่เข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นจากปี 2559 ถึง 6 เท่าตัว และล่าสุดในปี 2562 องค์การอนามัยโลกได้ให้ความสำคัญต่อการใช้เวลาหน้าจอของเด็ก โดยการออกแนวทางแนะนำการใช้เวลาหน้าจอสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ดังนั้น การบริหารจัดการเวลาหน้าจอ (Screen Time Management) ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะความฉลาดทางดิจิทัล (DQ) จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พลเมืองดิจิทัลควรฝึกฝน เพื่อจะได้รู้เท่าทันสื่อ และรู้จักการจัดสรรเวลาหน้าจอให้กับตนเองและคนรอบข้าง
เขียนและเรียบเรียง...
MIDL for Inclusive Cities : ละอ่อน ฮ่วมใจ๋ ตีฆ้อง แป๋งเมือง วันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2565 ณ โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย.แต่เนื่องด้วยสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทางพื้นที่จำเป็นต้องขอจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมงาน จึงสามารถเปิดรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ได้ทั้งหมด 10 ท่าน ท่านใดที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตามลิงก์นี้ https://forms.gle/mi7tup3rdqjpXsbB6
*กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมภายในของเครือข่ายนักสื่อสารสุขภาวะเท่านั้น #FriendDay#เที่ยวบ้านเพื่อน#สสส#สสย#มพด#มยพ#มอส#อีสานตุ้มโฮม#MIDL#feeltrip
...
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565 (เวลา 10.00 – 12.00 น.) เพราะมหานครนั้นรวมทุกความเจริญเอาไว้ ทั้งความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม จึงไม่แปลกที่มหานครหรือเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ จึงเป็นปลายทางของผู้คน ที่มีผู้คนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาทั้งเพื่อหางานทำ เรียนหนังสือ ฯลฯ
และความเป็นศูนย์กลางที่รวมศูนย์เช่นนี้ จึงทำให้เกิดชุมชนแออัดจำนวนมาก กระจายตัวอยู่ทั่วเมือง และหนาแน่นในบริเวณพื้นที่เศรษฐกิจของเมือง ด้วยเหตุเช่นนี้ ชุมชนแออัดกับเมืองจึงเป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อกันอย่างไม่อาจปฏิเสธได้
หากแต่ “ชุมชนแออัด” ในการรับรู้ ความเข้าใจของผู้คนในสังคมกลับเป็นภาพจำอีกแบบ เช่น แออัด รก ไม่ปลอดภัย ไม่สะอาดตา ฯลฯ ซึ่งภาพจำเหล่านี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การผลิตซ้ำเนื้อหาที่ลดทอนผ่านสื่อกระแสหลัก ส่งผลอย่างยิ่งต่อการสร้างภาพจำเช่นนี้
ทั้งนี้ “รองเมือง” เป็นเขตหนึ่งของกรุงเทพมหานคร พื้นที่แห่งนี้มีความหลากหลายทั้งในสถานะพื้นที่รอยต่อพื้นที่การศึกษา(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ) พื้นที่ชุมชนการค้าเก่าแก่ (เซียงกง ร้านค้าขนส่ง ชุมชนคนจีน ฯลฯ) พื้นที่ศูนย์กลางการเดินทาง เช่น...
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ขับเคลื่อนสนับสนุนภาคีเครือข่ายในการพัฒนา ส่งเสริมเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ โดยแต่ละองค์กรภายใต้ภาคีเครือข่ายนี้ ต่างมีกระบวนการ เครื่องมือ ฯลฯ ที่หลากหลายทั้งเหมือนและต่างกัน ที่ภายใต้ความหลากหลายเหล่านี้ มีแกนนำเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ในฐานะนักสื่อสารสุขภาวะเกิดขึ้น กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
จากความหลากหลายที่เกิดขึ้นทั้งพื้นที่ปฏิบัติการ และแกนนำเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ในฐานะนักสื่อสารสุขภาวะนี้ ทำให้ภาคีเครือข่าย สสย. เห็นพ้องตรงกันว่า การสานพลังความร่วมมือ การเติมแนวคิด เชื่อมร้อยกันเป็นเครือข่ายของนักสื่อสารสุขภาวะ และการแชร์แบ่งปันเรื่องดีๆ สู่สาธารณะ เป็นเรื่องสำคัญ .จากแนวคิดสาน เติม และเชื่อมข้างต้น จึงเป็นที่มาที่ก่อให้เกิดความร่วมมือกันขององค์กรในภาคีเครือข่าย สสย. (สสย. มพด. มยพ. MIDL มอส. และสาธารณศึกษา-Feeltrip) โดยมีกิจกรรมหลักๆ 3 ส่วนคือ 1.เที่ยวบ้านเพื่อน 6 พื้นที่...