เรื่อง : มะลิวัลย์ ปันสุข / ภาพ : สายัณห์ ชื่นอุดมสวัสดิ์
เพราะความจำเป็นด้านเศรษฐกิจ ประกอบกับภูมิประเทศ ที่สามารถเดินทางไปมาหาสู่กันไม่ยากนัก ทำให้ประเทศไทย เป็น จุดหมายปลายทาง ของแรงงานข้ามชาติจำนวนมาก จากประเทศเพื่อนบ้าน ดังเห็นได้จากตัวเลขเป็นทางการเมื่อไม่นานนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่าง สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน ระบุไว้ไทย มีแรงงานข้ามชาติ ที่ได้รับอนุญาตเข้ามาทำงานทั่วราชอาณาจักร กว่า 2.5 ล้านคน โดย 91 เปอร์เซ็นต์ เป็นแรงงานข้ามชาติจาก ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเมียนมา
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีผลวิจัยจากหลายแหล่ง ระบุตรงกัน การเข้ามาของแรงงานข้ามชาตินั้น ก่อให้เกิดผลกระทบ ทั้งเชิงบวกและเชิงลบหลายด้านต่อประเทศไทย โดยผลกระทบเชิงบวก ที่เห็นชัด คือ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ดำเนินไปได้ต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงักจากการขาดแคลนแรงงาน ขณะที่ ผลกระทบเชิงลบ มีอยู่หลายประเด็น เช่น ทำให้แรงงานไทยระดับล่างมีโอกาสทำงานน้อยลง...
เรื่อง : มะลิวัลย์ ปันสุข / ภาพ : สายัณห์ ชื่นอุดมสวัสดิ์
เมืองแห่งความเท่าเทียม นับรวมทุกคน ไม่มีการแบ่งแยกชนชั้น วรรณะ ซึ่งไม่ได้หมายถึง ทาส หรือ เจ้านาย แต่หมายถึง อัตลักษณ์ของแต่ละบุคคล เช่น คนพิการ คนชรา คนท้อง จะเป็นเมืองน่าอยู่ ถ้าคนที่มีความหลากหลาย สามารถอยู่ใช้งาน และสามารถกำหนดชะตาชีวิตของตัวเองได้โดยปราศจากการครอบงำทั้งปวง สุริยา แสงแก้วฝั้น นักเรียกร้องสิทธิเพื่อผู้พิการ
ใจสร้างเมือง คือ ความพยายามของกลุ่มคนเล็กๆ ที่ต้องการสื่อสารว่าด้วยเรื่องของความเสมอภาคเท่าเทียม สิทธิ และโอกาสของผู้พิการในสังคม โดยมีสถาบันการศึกษาระดับชาติอย่าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) เป็นฉากสำคัญ
โครงการใจสร้างเมือง มีเยาวชนเป็นฐาน เพราะเชื่อว่าเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเมืองค่อนข้างมาก ทั้งปัจจุบันและอนาคต ผศ.ดร.ไพลิน ภู่จีนาพันธ์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มช. ในฐานะเจ้าของโครงการ...
เรื่อง : มะลิวัลย์ ปันสุข / ภาพ : สายัณห์ ชื่นอุดมสวัสดิ์
...
เรื่อง : มะลิวัลย์ ปันสุข / ภาพ : กานต์ บุญเยาวลักษณ์
สิ่งที่สำคัญกว่า การไปพาเด็กหาประสบการณ์นอกห้องเรียนคือความเชื่อที่ว่า เด็กๆ มีศักยภาพไปได้ไกล แค่ทุกวันนี้ เมืองที่เราอยู่ ไม่มีพื้นที่ให้พวกเขา
แนะนำตัวว่า ไม่ใช่เด็กเรียนเก่ง จนไม่สามารถ ทำตามความคาดหวังของพ่อแม่ได้ แถมสมัยวัยรุ่น ต้องใช้คำว่า เกเร ใช่เล่น แต่เพราะได้รับโอกาสดีๆ จากครูบาอาจารย์ หลายท่าน เขาเลยตั้งใจ อยากเป็น “พ่อพิมพ์” ตั้งแต่เป็นเฟรชชี่
ครูอาจารย์ หลายท่านเปลี่ยนแปลงผมได้ จึงอยากให้เด็กคนอื่น มีโอกาสได้เจอแบบผม เลยเกิดความคิด เฮ้ย! ถ้ามีอาชีพสามารถเปลี่ยนโลก ที่มีอิทธิพลต่อความคิด ในประเทศนี้ น่าจะมีแค่ นักการเมือง ดารา อินฟลูเรนเซอร์ ซึ่งผมคงเป็นไม่ได้ จะเป็นหมอ ก็คงยาก สุดท้ายเหลืออาชีพนี้แหละครับ ครู-อาจารย์ เลยมาเป็นซะ
ดร.ไดฟ์ - พสุธา โกมลมาลย์...
บรรทัดทุกบรรทัดจากนี้ เป็นตัวอย่างภาพสะท้อนความตั้งอกตั้งใจของทุกหัวใจ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ที่สร้างแรงกระเพื่อมเบาๆ อยู่ตามมุมต่างๆ ของประเทศ นัยของคำว่า “เรื่องเล่า-เด็ก-แปลง-เมือง” จึงนับว่าความหมายที่ซ่อนพลังอยู่ไม่น้อย
เรื่องเล่า >>
เหตุการณ์ความเป็นไปที่เกิดขึ้นในแต่ละมุมบนโลกใบใหญ่ ล้วนมีมากมายหลากหลาย คงไม่อาจนับจำนวนได้ แต่จะมีสักกี่เรื่องราว ที่มีทั้งคุณค่าและควรค่าแก่การบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เพื่อเล่าขานสืบต่อกันไป หวังเพียงให้ผู้คน ซึ่งอาจมีโอกาสรับรู้ ได้ประทับไว้ในเสี้ยวหนึ่งของความทรงจำ
หลายครั้งที่เรื่องเล่าสร้างความทรงจำที่ดี ยากจะลืมเลือน ในขณะที่อีกหลายเรื่องกลับเป็นตราบาปที่ผู้ประสบพบพานไม่ต้องการบันทึกไว้ในความทรงจำ เรื่องเล่าบางเรื่องผลิดอกออกผล ต่อยอดความดีงาม กลายเป็นเรื่องบันดาลใจให้หลายคนลุกขึ้นมาก้าวเดินต่อ แต่บางเรื่องเล่า กลับสร้างความด่างพร้อยในมโนสำนึกและจิตใจ
เรื่องเล่าเชิงบวก ล้วนเป็นพลังงานชั้นดี ในการหล่อเลี้ยงความดีงามให้ชีวิต ในขณะที่เรื่องเล่าเชิงลบ กับเป็นพลังงานชั้นเลว ที่จะฉุดรั้งและบั่นทอนทางเดินของชีวิต สำหรับมนุษย์คนหนึ่งแล้ว แน่นอนว่าย่อมมีเรื่องเล่าทั้ง 2 ชนิด ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน ไม่สำคัญว่าส่วนไหนจะมากกว่ากัน หากแต่สำคัญที่มนุษย์ผู้นั้น จะชาญฉลาดแค่ไหนในการคัดสรรประดาเรื่องเล่าของตนเอง และนำมาปรับใช้ให้ก่อเกิดความดีงามแก่ชีวิตต่อไปข้างหน้า
เด็ก >>
สิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ บนดาวเคราะห์ใบนี้ ที่เชื่อกันว่า พวกเขา คือ ผ้าขาว...
ภาคต่อของหนังสือ
“ห้องเรียนเปลี่ยนวัฒนธรรม”
ที่ชวนผู้อ่านทำความเข้าใจกับระบบอำนาจนิยมเพื่อนำไปสู่วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
(Peace Education) หนังสือเล่มนี้สื่อสารโดยตรงกับพ่อแม่ผู้ปกครองและครอบครัวถึงการเลี้ยงดูบุตรหลาน
ชวนเปลี่ยนจากการใช้ “อำนาจเหนือ” เป็น”อำนาจร่วม” สร้างความปลอดภัย ความเข้าใจ
ความรักและความสุขแก่สมาชิกทุกคนในครอบครัว
เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้บุตรหลานสามารถรับมือกับปัญหาได้อย่างมีสติปัญญาและความรับผิดชอบท่ามกลางวิกฤตินานัปการในศตวรรษนี้
เขียนและเรียบเรียง :
อวยพร
เขื่อนแก้ว
บรรณาธิการ :
เฌอทะเล
สุวรรณพานิช
คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลด
...
แนวคิด MIDL For
Inclusive Cities
เป็นการนำทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล
ซึ่งสำคัญต่อคนทุกวัยโดยเฉพาะเด็กเยาวชนที่ใช้สื่อและอยู่กับสื่อตลอดเวลา มาผนวกกับการสร้างเมืองของทุกคน หรือ Inclusive Cities
โดยมีหัวใจสำคัญคือเด็กและเยาวชนเป็นผู้มีบทบาทหลักในการพัฒนาร่วมสร้างเมือง
แวดล้อมด้วยผู้ใหญ่คอยให้การสนับสนุน
เพื่อขับเคลื่อนเมืองตามบริบทจุดเน้นของพื้นที่ เช่น
เป็นเมืองที่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เมืองที่มีความปลอดภัย
เมืองที่ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางสังคมได้
สำหรับ Magazine Online เล่มนี้ สสย. ได้ร่วมรวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลกรณีศึกษาในแต่ละภูมิภาคจากบุคคลหลายฝ่าย ทั้งนักวิชาการ นักพัฒนาเอกชน คุณครู ผู้เกี่ยวข้อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและ เยาวชน ที่เป็นผู้มีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนกระบวนการ เพื่อที่จะชี้ให้เห็นถึงพลังเล็กๆ ของทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ ร่วมสร้างเมืองของทุกคน โดยเรื่องราวในนิตยสารเป็นกิจกรรมที่ เกิดขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2563-2565
อ่านและดาวน์โหลดฉบับเต็ม
...
ในความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างครูกับนักเรียน ครูมักถูกมองว่าเป็นผู้มีอำนาจมากกว่าผู้เรียนอยู่เสมอ ซึ่งทางศูนย์ผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความเป็นธรรมได้แบ่งประเภทอำนาจออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ อำนาจเหนือกว่า อำนาจร่วม และอำนาจภายใน ที่สะท้อนลักษณะความสัมพันธ์เชิงอำนาจของคนในสังคม
อำนาจเหนือกว่า เป็นอำนาจที่บุคคลนำแหล่งอำนาจของตนเองมีอยู่มาใช้เพื่อให้ตนเองเป็นผู้คุมเกมหรือได้ประโยชน์ในสถานการณ์นั้น อำนาจร่วม เป็นอำนาจที่บุคคลใช้แหล่งอำนาจของตนเองเพื่อเปิดโอกาส สนับสนุน ให้ผู้มีแหล่งอำนาจน้อยกว่าได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจร่วมกัน บนพื้นฐานของการให้ความเคารพในฐานะที่เป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน
อำนาจภายใน คือ อำนาจที่อยู่ภายในตัวบุคคล ใช้เป็นแรงผลักดันเพื่อให้เกิดศักยภาพในตัวบุคคล ความคิดสร้างสรรค์ การเห็นคุณค่าในตนเอง และมักถูกใช้เพื่อรับมือกับอุปสรรคในชีวิตตลอดจนการต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมในสังคม
เราจะพบว่าครูมีทั้งอำนาจเหนือกว่าและอำนาจภายในตนเอง ในขณะที่นักเรียนส่วนใหญ่มีเพียงอำนาจภายในเท่านั้น อย่างไรก็ดี เราสามารถจัดสรรความสัมพันธ์ของอำนาจทั้ง 3 แบบนี้ใหม่ให้เป็นไปในรูปแบบอำนาจร่วมเพื่อนำไปสู่การเกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในชั้นเรียน และไม่ทำผู้เรียนตกเป็นเหยื่อของการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม
ที่มา: อวยพร เขื่อนแก้ว. (2564). ห้องเรียนเปลี่ยนวัฒนธรรม ถอนรากถอนโคนการศึกษาแบบอำนาจนิยม #ให้มันจบที่รุ่นเรา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.).
อ่านและดาวน์โหลดได้ที่ : http://cclickthailand.com/book1/
...
Posted at 07:56h
in
วีดีโอ
by cclickthailand
เพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่มีความหลากหลาย และสถานการณ์โควิดก็ไม่ใช่อุปสรรคของการเรียนรู้ กลุ่มเด็กเยาวชนที่มีเชื้อสายชาติพันธุ์ไทยใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นลูกหลานแรงงานใน ต.สุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ จึงลุกมาปฏิบัติการ “โครงการความเท่าเทียม บนความหลากหลายทางสถานะและชาติพันธุ์” สร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของความเป็นคนไตยที่ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญบ่งบอกความเป็นตัวตน ทั้งเครื่องแต่งกาย ภาษาและวัฒนธรรม เสริมสร้างความเข้าใจของชุมชนเปิดพื้นที่ทางความคิด รับรู้ กระบวนการสร้างความเข้าใจ ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน เรียนรู้กระบวนการผลิตสื่อเพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้ ความเข้าใจบนความเท่าเทียม และความเป็นพลเมืองบนแนวความคิดภายใต้ความเป็นพลเมือง ไปจนถึงการผลิตสื่อเพื่อการสร้างเมืองบนความหลากหลายอันจะนำไปสู่การลดอคติต่อกลุ่มแรงงานชาติพันธุ์ . #MIDLforInclusiveCities #สสย #สสส
https://www.youtube.com/watch?v=9-jqw0c7R9A
...
โครงการพลเมืองเยาวชนเท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทลัเพื่อร่วมสร้างเมืองใน พื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ภายใต้ยุทธศาสตร์ MIDL for Inclusive Cities ได้นำแนวคิดเรื่อง inclusive city (เมืองสำหรับทุกคน) มาใช้ในการแก้ไขปัญหาขยะ เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้คนในชุมชนท่าขอนยาง จังหวัดมหาสารคาม ได้ร่วมเรียนรู้อัตลักษณ์ คุณค่าชุมชน ร่วมค้นหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ร่วมกันออกแบบชุมชนที่น่าอยู่ และทุกคนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ในชุมชนนี้ได้
แกนนำชมรมสื่อสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ลงพื้นที่ชุมชนท่าขอนยางเพื่อเข้าร่วมทำกิจกรรมบุญผะเหวดร่วมกับคนในชุมชน และได้เชิญชวนคนในชุมชนท่าขอนยางมาร่วมแต้มสีเล่าเรื่องคุณค่าชุมชนร่วมกันผ่านผืนผ้าผะเหวด ตามวิถีประเพณีอีสาน
ในผ้าผะเหวดผืนนี้จะเป็นการแต้มสีร่วมกันโดยเยาวชน ผู้ใหญ่ในชุมชน และแกนนำชมรมสื่อสาร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยได้มีการนำวัสดุเหลือใช้ในชุมชนมาตกแต่งให้สวยงามผ่านความคิดที่สร้างสรรค์เพื่อให้คนในชุมชนได้เห็นคุณค่า ภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ วิถีชีวิตของการร่วมกันดูแลชุมชน วัฒนธรรม และประเพณีที่สืบทอดกันตลอดมาของคนในชุมชน เพื่อให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับทุกคน
...