cclickthailand
-1
archive,paged,author,author-cclickthailand,author-2,paged-31,author-paged-31,bridge-core-2.1.7,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-title-hidden,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-20.4,qode-theme-bridge,qode_header_in_grid,wpb-js-composer js-comp-ver-6.1,vc_responsive

เขียนและเรียบเรียง โดย ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ พิรุณ อนวัชศิริวงศ์ จัดพิมพ์และเผยแพร่ โดย มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด Download ...

วันนี้ สสย. จะพามารู้จักกับวิธีการตรวจสอบข่าวปลอมง่าย ๆ 8 วิธี เพื่อให้แน่ใจก่อนตัดสินใจเชื่อหรือกด share ต่อ ที่มา: The International Federation of Library Association: IFLA (https://www.ifla.org/publications/node/11174) จัดทำเป็นภาษาไทยโดย: สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ...

"What is FAKE NEWS????" ข่าวเทียม ข่าวปลอม ข่าวลวง คืออะไร ในทุก ๆ วันเราได้รับข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์ ต้องยอมรับว่าหลาย ๆ ข้อมูลส่งผลกระทบต่อความคิด ความเชื่อของเรา ซึ่งข้อมูลบางส่วนนั้นถูกจัดว่าเป็น FAKE NEWS แล้ว FAKE NEWS คืออะไร??  หาคำตอบได้จาก infographic ชุดนี้ ...

บทสัมภาษณ์ โตมร อภิวันทนากร กลุ่มมานีมานะ ผู้ทำงานขับเคลื่อนประเด็นเรื่องเพศและการรู้เท่าทันสื่อ  1. การสร้างอัตลักษณ์ในโลกออนไลน์ คืออะไร? คือการเลือกสรรเนื้อหาที่จะสื่อสารในโลกออนไลน์ แสดงออกได้ทั้งทางตรง เช่น รูปโปรไฟล์ รูปถ่ายตัวเอง รวมทั้งข้อความที่ตั้งเป็นสเตตัส และผลผลิตชิ้นงานต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นโดยเรา และเผยแพร่โดยเราเอง และทางอ้อม เช่น ข้อความที่ไป comment คนอื่น การแชร์ content ต่าง ๆ ในพื้นที่ออนไลน์ของเรา ผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีทางการสื่อสาร (ทั้งที่ออกสู่สาธารณะให้คนทั่วไปสามารถรับรู้ได้ หรือเฉพาะเจาะจงระหว่างเรากับผู้รับสาร) โดยเนื้อหาที่เลือกสรรนี้สามารถสะท้อนถึง ‘ความเป็นตัวเราลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือหลาย ๆ ลักษณะที่ซ้อนทับกัน’ เป็นลักษณะของตัวเราเองที่ผู้อื่นรับรู้ได้ ซึ่งการสร้างอัตลักษณ์ในโลกออนไลน์อาจจะด้วยความตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ได้ สรุปคือ ทุกสิ่งอันที่สื่อสารในโลกออนไลน์คือสิ่งที่สะท้อนอัตลักษณ์ที่เราสร้างขึ้น 2. ในมุมมองของคุณ โลกออนไลน์มีอิทธิพลต่อการแสดงอัตลักษณ์ทางเพศอย่างไร? โลกออนไลน์เป็นพื้นที่ทางสังคมเสมือนที่มีอยู่จริง และมีอิทธิพลทั้งในทางเสริมอำนาจและลดทอนอำนาจของอัตลักษณ์ทางเพศ ความหลากหลายของอัตลักษณ์ทางเพศที่มีอยู่ ในโลกจริง สามารถปรากฎตัวตนได้อย่างเต็มที่ในโลกออนไลน์ ไม่ว่าใครจะมีอัตลักษณ์ทางเพศเป็นแบบใดก็สามารถสื่อสารตัวตนอย่างที่เป็นออกมาสู่พื้นที่ทางสังคมเสมือนนี้ได้...

#UmbrellaMovement อำนาจสื่อในมือกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเคลื่อนไหวทางการเมือง ขบวนการร่ม (the Umbrella movement) ในฮ่องกง นับเป็นอีกปรากฏการณ์หนึ่งของการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่กับการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและจัดการประท้วงที่ได้รับความสนใจจากนานาชาติ การเคลื่อนไหวครั้งนี้ถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของฮ่องกง ทั้งในแง่ของระยะเวลาซึ่งเริ่มในช่วงปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 ยาวนานต่อเนื่องถึง 79 วัน มีผู้ถูกจับกุมกว่า 900 คน Ho Chuen Ng ชาวฮ่องกงที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหวดังกล่าว เขาเป็นผู้หนึ่งที่เห็นว่าโลกดิจิทัลทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ที่แตกต่างจากในอดีต เขาใช้แนวคิดของนักสังคมวิทยาชาวสเปนชื่อ Manuel Castells ที่เรียกการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่ในยุคดิจิทัลว่าเป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบเครือข่าย networked social movement  ข้อมูลชุด “พลเมืองดิจิทัลกับการสร้างความเคลื่อนไหวทางสังคม” จากหนังสือเท่าทันสื่อ : อำนาจในมือพลเมืองดิจิทัล โดย โสภิดา วีรกุลเทวัญ ดาวน์โหลดได้ที่: http://cclickthailand.com/…/research/PDF-for-Print-New-2.pdf จัดพิมพ์โดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ...

สื่อออนไลน์กับการสื่อสารความหมายอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ เรื่องราวของ Mylon McArthru เด็กชายวัย 8 ขวบ เป็นคนพื้นเมืองที่เพิ่งย้ายไปอยู่ที่เมืองแห่งหนึ่งในมลรัฐ Alberta ประเทศแคนาดา  เด็กชายร้องไห้หลังกลับ จากโรงเรียน และบอกแม่ว่าต้องการตัดผมยาวที่เขาไว้มาแต่เล็ก แม่ของเขา สอบถามเรื่องนี้กับครูที่โรงเรียน จึงทราบว่าเขาเป็นเด็กชายคนพื้นเมืองคนเดียวในห้องเรียนและโดนเพื่อนรังแกเนื่องจากทรงผมยาวและถักเปีย...

#Metoo “พลังของผู้หญิง ร่วมกันเปิดโปงการคุกคามทางเพศ” ข้อมูลชุด “พลเมืองดิจิทัลกับการสร้างความเคลื่อนไหวทางสังคม” จากหนังสือเท่าทันสื่อ : อำนาจในมือพลเมืองดิจิทัล โดย โสภิดา วีรกุลเทวัญ จัดพิมพ์โดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน #CYMI #MIDL #Socialmovement ...

คุณรู้ไหมว่าการใช้ชีวิตประจำวันนั้น "ถูกครอบงำด้วยสื่อ" ไม่ว่าวันนี้จะไปไหน จะดูหนังเรื่องอะไร จะไปกินอะไร ก็ต้องดูสื่อ หรือแม้แต่ของที่เราเลือกซื้อ เพลงที่เราชอบฟัง ก็เพราะดูและฟังบ่อยๆจากสื่อ ใครหลายๆคนจะรู้สึกว่าตัวเองดูดีหรือไม่ก็เทียบกับภาพในสื่ออีกนั่นแหละแล้วเราจะเท่าทันสื่อได้อย่างไรกันละ ไปดูคาถา 5 ข้อนี้ 1. สื่อนี้ใครเป็นเจ้าของสื่อสื่อทั้งหลายล้วนแต่ถูกสร้างขึ้นโดยมีเจ้าของ มีเป้าหมายการสื่อสารที่ชัดเจนโดย ใช้เทคนิคกลวิธีบางอย่าง เช่น มุมกล้อง สี เสียง หรือการตัดต่อในการนำเสนอเนื้อหาสาร  2. สื่อนี้มีรูปแบบการนำเสนออย่างไร ลักษณะการนำเสนอมีผลต่อการสร้างความรับรู้และสร้างความเป็นจริง เช่นถูกนำเสนอในรูปแบบของการเล่าข่าว การสัมภาษณ์ยืนยันการใช้จริง ใช้การ์ตูน เพื่อเลือกการนำเสนอให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย  3. สื่อนี้ต้องการสื่อสารกับใคร หลากหลายรูปแบบการนำเสนอแตกต่างกันไปตามกลุ่มเป้าหมายเช่น เด็กจะใช้สื่อการ์ตูนหรือเด็กในรุ่นราวคราวเดียวกัน เพื่อสร้างความเป็นกันเองในการโน้มน้าวความสนใจ วัยรุ่นจะใช้ภาพเคลื่อนไหวและเพลงสนุกสนาน ใช้สีสันสดใส เป็นต้น  4. สื่อต้องการทำให้รับรู้และรู้สึกอย่างไร มีอะไรไม่ถูกนำเสนอบ้าง บางสื่อพยายามนำเสนอข้อมูลด้านเดียวเช่นโฆษณาการทำศัลยกรรม นำเสนอคุณค่าความสำคัญของการสวยหล่อ โดยไม่นำเสนอคุณค่าด้านอื่นของความเป็นคนที่ไม่ต้องสวย หล่อก็มีคุณค่าและทำประโยชน์ ทำงานในสังคมได้  5. สื่อหวังผลทำให้เราเชื่อหรือทำอะไร การทำสื่อทุกอย่างหวังผลเสมอ เช่นนักการตลาดทำเพื่อหวังผลกำไร นักการเมืองหวังคะแนนนิยม หรือเพื่อประชาสัมพันธ์ ...

สถานการณ์ผลกระทบในเด็กไทย จากงานวิจัยเอแบคโพลล์ในปี 2546 เรื่อง “ผลกระทบสื่อโทรทัศน์ต่อเด็ก” พบว่าพ่อแม่ผู้ปกครองสังเกตเห็นว่า รายการโทรทัศน์ทีผลต่อพฤติกรรมของเด็ก ในระดับปานกลาง ค่อนไปทางมากตั้งแต่การซื้อสินค้าตามโฆษณา (เด็กจะซื้อของเล่นและขนมตามโฆษณาร้อยละ 46.4 ของเงินที่ได้รับ) การเลียบแบบท่าทางในการ์ตูน ทั้งการแต่งตัว พูดก้าวร้าว ใช้คำด่า ชกต่อย ตบตีเรื่อง “ผลกระทบสื่อโทรทัศน์ต่อเด็ก” พบว่าพ่อแม่ผู้ปกครองสังเกตเห็นว่า  ทางออก ดูทีวีกับลูก การได้นั่งดูโทรทัศน์กับลูกเป็นโอกาสที่พ่อแม่ไม่ควรพลาด เพราะเด็กๆจะมีคำถามต่างๆ การที่มีพ่อแม่อยู่ด้วยจะทำให้คำถามนั้นมีคำตอบ เด็กเล็กๆ ยังแยกแยะไม่ออกว่าโลกในโทรทัศน์แตกต่างจากโลกความจริงอย่างไร กฎทอง 4 ข้อสำหรับลูก คือ  ความแตกต่างระหว่างคนจริงกับตัวละคร ความแตกต่างระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องสมมติ ชี้ชวนลูกดูโทรทัศน์รายการดีๆ โทรทัศน์เมื่อเปิดได้ก็ปิดได้ ควรจะต้องคอยควบคุมเวลาในการดูโทรทัศน์ของลูกๆ  โดยเริ่มหัดตั้งแต่ตอนที่เขายังเป็นเด็กเล็ก ...

ผลสำรวจเด็กไทย "ติดเกม-เล่นออนไลน์" ปี 2556 พุ่ง 2.7 ล้านคน จากเยาวชน 18 ล้านคน จากข้อมูลจากแบบสำรวจที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร่วมกับสถาบันสุขภาพจิตและวัยรุ่น กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข เก็บข้อมูลเด็กและเยาวชนกลุ่มตัวอย่าง 2 หมื่นคนทั่วประเทศ ระหว่างเดือนมี.ค.-มิ.ย.2556 น.พ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวถึง 4 อาการ "เด็กติดเกม" ที่พ่อแม่ควรรู้ 1.กลุ่มอาการแสวงหาการเล่น คือ จะเล่นเกมทุกเวลาที่ว่าง 2.กลุ่มอาการชินชากับการเล่น คือ ต้องเล่นนานขึ้นจึงจะสนุกเป็นที่พอใจ 3.กลุ่มอาการขาดการเล่นไม่ได้ จะมีอาการหงุดหงิดและก้าวร้าว จนถึงขั้นทำร้ายพ่อแม่ผู้ปกครอง พยายามฆ่าตัวตาย เมื่อถูกห้ามไม่ให้เล่นเกม หรือหงอยเหงาหากไม่ได้เล่นเกมอารมณ์แปรปรวนง่าย ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ ถือว่าเข้าข่ายติดเกมรุนแรง 4.กลุ่มอาการเสียการทำหน้าที่หลัก เช่น เสียการเรียน เสียมนุษย์สัมพันธ์กับคนรอบข้าง เก็บตัวอยู่บ้านเพื่อเล่นเกม ไม่นอนในเวลากลางคืน เกมประโยชน์และโทษ ประโยชน์ของเกมนั้นมีหลายอย่าง การทำให้เกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนานแต่การเล่นเกมหรือการใช้อินเตอร์เน็ตนานๆ จะส่งผลกระทบได้ ทั้งต่อสุขภาพทางกาย เช่น โรคกระดูก โทษต่อสุขภาพจิต เช่นการมีมนุษยสัมพันธ์ต่างๆ และโทษต่อการผลิตผลงานของชีวิต เช่น เสียการเรียน ชวนมาเยียวยาพฤติกรรมติดเกม ระดับแรกเริ่มเล่นเกม  1.สร้างกติกาการเล่น การสร้างกติกาทำให้ลูกควบคุมตนเอง วินัยที่ดีคือการควบคุมตนเองให้ได้  ในเด็กเล็กพ่อ แม่สอนง่ายๆ โดยใช้นาฬิกาปลุก ตั้งนาฬิกาปลุกให้กับลูกให้เล่นเกมหนึ่งชั่วโมง พอเสียงดังกริ๊งๆๆๆ ต้องเลิก ให้เล่นได้เฉพาะเสาร์อาทิตย์ วันธรรมดาไม่ให้เล่น ในเด็กโตที่เริ่มติดเกม ให้เขาเป็นคนวางแผนเองว่าอยากจะลดชั่วโมงการเล่นเกมสัปดาห์ละกี่ชั่วโมง พ่อกับแม่ควรชวนลูกวางแผน ด้วยกันเช่นลูกเล่นเกมวันละ 10 ชม.สัปดาห์หน้าเราจะให้เล่นวันละ 9 ชม. สัปดาห์ถัดไปเป็นวันละ 8 ชม....