สสย.และเครือข่ายได้รับรางวัล “องค์กรที่ทำงานส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ” จากยูเนสโก
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) และเครือข่ายได้รับรางวัล Media and Information Literacy and Intercultural Dialogue จาก UNESCO, GAPMIL และ UNAOC ซึ่งเป็นรางวัลที่สนุบสนุนองค์กรที่ส่งเสริมงานเท่าทันสื่อ และสามารถบูรณาการประเด็นดังกล่าวสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายรวมไปถึงด้านอื่นๆในสังคม ซึ่งสสย.เป็นองค์กร 1 ใน 3 ประเทศที่ได้รับรางวัล จาก 70 กว่ารายชื่อที่เสนอผลงานเข้ารับการ โดยมีดร.เฉลิมชัย พันธ์เลิศ ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล เป็นตัวแทนเข้ารับรางวัลดังกล่าว ในงาน Global MIL Week 2016 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 ณ ประเทศบราซิล
CYMI received “Media and Information Literacy and Intercultural Dialogue Award” award from UNESCO
The Child and Youth Media Institute (CYMI) and partners received the Media and Information Literacy and Intercultural Dialogue Award from UNESCO, GAPMIL and UNAOC. It was rewarded to organizations that worked on media literacy and were able to integrate the work into policy development and other social dimensions. CYMI was one of the three organizations that was rewarded, among other 70 organizations. Dr. Chalermchai Phanthalert and Dr. Athapol Anantavorasakul were our representatives to receive the award at the Global MIL Week 2016, on November 4th in Brazil.
ดร. เฉลิมชัย พันธ์เลิศ กรรมการมูลนิธิฯซึ่งเป็นผู้บทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อฯ เข้าสู่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยดร.เฉลิมชัยได้เป็นตัวแทนในการรับมอบรางวัลในครั้งนี้กล่าวว่า ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารท่วมท้น มีหลากหลายช่องทาง มีข้อเท็จและข้อจริง ทั้งมีสาระและเป็นพิษปะปนกัน ชุดความรู้ที่ต้องติดตั้งแบบการฉีดวัคซีนที่ชื่อ “การรู้เท่าทันสื่อ(Media literacy)”ผ่านการให้การศึกษาสำหรับให้มีความแข็งแกร่งพอที่จะเผชิญกับสังคมอันซับซ้อนนั้นได้ สำหรับประเทศไทยแล้ว มีความก้าวหน้าเรื่องการพัฒนาพลเมืองให้มีการรู้เท่าทันสื่อไปมากทีเดียวเมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศ โดยมองในแง่ของคุณภาพของชุดความรู้ ทั้งนี้อาจต้องให้เวลากับสังคมโดยรวมค่อยๆเรียนรู้เรื่องนี้กันไป และขยายออกไปในวงกว้างในแง่ปริมาณให้มากขึ้น
การทำงานในก้าวต่อไปคือสร้างพลังให้ทุกคนทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม และมาเรียนรู้ร่วมกัน ให้รู้สึกว่าประเด็นการรู้เท่าทันสื่อเป็นเรื่องของเราทุกคน ปัญหาและทุกข์ร้อนที่เกิดขึ้นนั้น เป็นปัญหาร่วมที่ทุกคนต้องมาร่วมกันแก้ไขและแสวงหาแนวทางพัฒนาร่วมกันไป และแน่นอนที่อาจต้องมี “เจ้าภาพหลัก” ในฐานะเป็นที่รวมชุดความรู้และเป็นที่ภาคีเครือข่ายได้มาแบ่งปันประสบการณ์กัน โจทย์ที่คิดว่าจะท้าทายมากๆคือ การทำให้ความรู้ด้านการรู้เท่าทันสื่อเชื่อมประสานเข้าสู่ระบบการทำงานปกติของทุกองค์กร ทุกภาคส่วนให้ได้ โดยอาจไม่ต้องนิยามหรือพูดออกมาว่าการรู้เท่าทันสื่อคืออะไรก็ได้ แต่เป็นความสามารถที่จะดำเนินชีวิตทั้งส่วนตัวและส่วนรวมในโลกของสื่อหลอมรวมและหลากหลายได้อย่างมีสติ และรู้เท่าทัน
Dr. Chalermchai Phanthalert is a Board Member of the Foundation who was influential in developing media literacy curriculum and advocated for the curriculum to be integrated into the Office of the Basic Education Commission (OBEC). Dr. Chalermchai Phanthalert who was the representative to receive the award stated that, “in the age of information overload, there are various information channels; true and false, meaningful and harmful. Knowledge that is equal to that of a vaccine is “media literacy.” Media literacy through education will enhance the capacity to live in a complexed society. Compared to many countries, Thailand is quite far ahead in terms of quality of the knowledge but it takes time for society to gradually learn, and to expand the quantity.
The next step is to create the synergy so that every section participates and learns together and such that they realize media literacy is about everyone. All the problems and issues are common issues that everyone has to handle and find solutions together. Certainly, there must be the “host” of this, the host who collects knowledge and creates space for partners to share their experiences. One of the challenges is integrating media literacy as a norm into every organization and every sector. We might not need to define or express what media literacy is but it is the capability to live your life critically in the world where there is various information.
“ผมอยากเห็นสังคมได้มองทั้งความสำเร็จและปัญหาที่เผชิญอยู่เป็นเวทีของการเรียนรู้ที่ร่วมกันเผชิญและแก้ไขปัญหาร่วมกัน ไม่จำเป็นต้องเร่งรีบ ให้เวลาและกระบวนการเรียนรู้ได้ทำงานอย่างเต็มที่ แต่มีเป้าหมายในการทำงาน ชื่นชมความสำเร็จเล็กๆในแต่ละก้าวร่วมกันไป”
I wish that the society see success and existing problems as a platform to learn and find solutions together. There is no need to rush, we can take time and let the learning process do its work. But we need to have objectives and appreciate the small success in each step we take.”
ด้าน ผศ. อรรถพล อนันตวรสกุล ซึ่งเป็นตัวแทนอีกท่านที่เข้าร่วมรับรางวัลฯ โดยเป็นผู้บทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อฯ เข้าไปสู่คณะครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ในสถาบันต่างๆ เพื่อใช้เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนบุคลากรครู ได้กล่าวว่า จากการเข้าร่วมการประชุมและได้เป็นตัวแทนรับรางวัลในงาน MIL Week 2016 ชวนให้เห็นความตื่นตัวของครู นักการศึกษา นักวิชาการ และคนทำงานภาคประชาสังคม จากทุกภูมิภาคทั่วโลกในการขับเคลื่อนวาระการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ เพื่อการพัฒนาเด็ก เยาวชน และพลเมือง โดยมีเป้าหมายที่เชื่อมโยงกับประเด็นด้านสุขภาวะ ความเป็นธรรมทางสังคม สันติภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่ยึดโยงกับโรงเรียน/มหาวิทยาลัย การเรียนรู้ในมิติชุมชน การฝึกอบรม และการเรียนรู้ตามอัธยาศัยผ่านแหล่งเรียนรู้และสื่อมวลชน
Dr. Athapol Anantavorasakul, another representative who was there to receive the award, was influential in developing and integrating the media literacy curriculum into the faculties of education across universities and the curriculum is used to teach students who will be future teachers. Dr. Anantavorasakul said that being the representative and attending MIL Week 2016 made him see the energy of teachers, educators, academics and non-profit organizations from every part of the world in pushing for media literacy for children, youth, and citizen development. The objective of their work is related to well-being, social justice, peace and sustainable development through activities organized around schools and universities, community learning, training and informal learning through learning centers and mass media.
“ผมมองว่าการรู้เท่าทันสื่อฯ นั้นเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยพัฒนาการศึกษาในเชิงบูรณาการ และเสริมพลังพลเมืองให้เข้าถึงข้อมูล เท่าทันและเลือกใช้ข้อมูล ตลอดจนเชื่อมโยงกับทักษะด้านดิจิทัลเพื่อใช้เป็นช่องทางในการผลิตสื่อ และสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับสังคม ไม่ใช่เพียงเรื่องระดับปัจเจกบุคคลที่เป็นฝ่ายตั้งรับสารสนเทศที่มากับสื่อ แต่พลิกบทบาทให้ผู้รับสื่อเป็นผู้ที่ใช้ประโยชน์จากสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลในการทำหน้าที่พลเมืองอย่างเข้มแข็งมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นโจทย์และความท้าทายใหม่ๆ ที่งานด้านการรู้เท่าทันสื่อฯของไทยที่ขยายขอบเขตการทำงานและบูรณาการกับนวัตกรรมทางการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพสังคม”
I think media literacy is a crucial tool that helps develop integrated education and enhances the citizen power to access information critically. And this involves the digital skills used as a channel to produce media and communicate for societal changes. It is not only about an individual being passive but also about changing an individual into a receptor who makes use of the media, information and the digital, and becomes a more powerful citizen. All of these are the problems and challenges that the work about media literacy in Thailand expands its scopes into and integrates into innovative education and learning, for the better of our society.
การเข้าร่วมประชุมและได้รับรางวัลในในครั้งนี้ นับเป็นประโยชน์อย่างมากในการขยายความรู้และเชื่อมเครือข่ายการทำการทำงานระหว่างประเทศในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อฯ ซึ่งสามารถนำประสบการณ์ดังกล่าวมาขยายผลให้กับในระดับเครือข่ายการทำงาน และในระดับนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานทันสื่อในประเทศไทยให้เกิดขยายเป็นวงกว้างสู่สังคมทุกภาคส่วนต่อไป
Attending this meeting and receiving this award is really beneficial to expanding knowledge and creating transnational partnership on media literacy. These experiences can be utilized to push forward the media literacy work in Thailand and broaden it to every sector.