สาระความรู้
-1
archive,paged,category,category-71,paged-7,category-paged-7,bridge-core-2.1.7,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-title-hidden,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-20.4,qode-theme-bridge,qode_header_in_grid,wpb-js-composer js-comp-ver-6.1,vc_responsive

การเอาใจเขามาใส่ใจเรานั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้ภายในจิตใจของแต่ละคน ต้องใช้ความเข้าใจในอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่นราวกับได้ไปยืนในจุดที่เขาเป็นอยู่จริง . . การฝึกฝนให้เด็กได้รู้จักการเอาใจเขามาใส่ใจเรานั้นจึงไม่ใช่เพียง “การท่องจำ” แต่เป็น “การสร้างประสบการณ์” ที่ต้องใช้ระยะเวลา The UK Safer Internet Center ได้แนะนำวิธีการสร้างทักษะการเอาใจ เขามาใส่ใจเราทางดิจิทัลให้แก่เด็ก 4 ข้อ ดังนี้ ที่มา: ทักษะการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy) เขียนและเรียบเรียงโดย ดร.สรานนท์ อินทนนท์ พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2562 จัดพิมพ์และเผยแพร่ : มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ...

อ่านความรู้เพิ่มเติมและดาวน์โหลดเอกสารได้ที่: https://bit.ly/2T9yCit #cyberbullying #รู้เท่าทันสื่อ ...

เขียนและเรียบเรียง โดย ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ พิรุณ อนวัชศิริวงศ์ จัดพิมพ์และเผยแพร่ โดย มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด Download ...

วันนี้ สสย. จะพามารู้จักกับวิธีการตรวจสอบข่าวปลอมง่าย ๆ 8 วิธี เพื่อให้แน่ใจก่อนตัดสินใจเชื่อหรือกด share ต่อ ที่มา: The International Federation of Library Association: IFLA (https://www.ifla.org/publications/node/11174) จัดทำเป็นภาษาไทยโดย: สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ...

"What is FAKE NEWS????" ข่าวเทียม ข่าวปลอม ข่าวลวง คืออะไร ในทุก ๆ วันเราได้รับข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์ ต้องยอมรับว่าหลาย ๆ ข้อมูลส่งผลกระทบต่อความคิด ความเชื่อของเรา ซึ่งข้อมูลบางส่วนนั้นถูกจัดว่าเป็น FAKE NEWS แล้ว FAKE NEWS คืออะไร??  หาคำตอบได้จาก infographic ชุดนี้ ...

บทสัมภาษณ์ โตมร อภิวันทนากร กลุ่มมานีมานะ ผู้ทำงานขับเคลื่อนประเด็นเรื่องเพศและการรู้เท่าทันสื่อ  1. การสร้างอัตลักษณ์ในโลกออนไลน์ คืออะไร? คือการเลือกสรรเนื้อหาที่จะสื่อสารในโลกออนไลน์ แสดงออกได้ทั้งทางตรง เช่น รูปโปรไฟล์ รูปถ่ายตัวเอง รวมทั้งข้อความที่ตั้งเป็นสเตตัส และผลผลิตชิ้นงานต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นโดยเรา และเผยแพร่โดยเราเอง และทางอ้อม เช่น ข้อความที่ไป comment คนอื่น การแชร์ content ต่าง ๆ ในพื้นที่ออนไลน์ของเรา ผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีทางการสื่อสาร (ทั้งที่ออกสู่สาธารณะให้คนทั่วไปสามารถรับรู้ได้ หรือเฉพาะเจาะจงระหว่างเรากับผู้รับสาร) โดยเนื้อหาที่เลือกสรรนี้สามารถสะท้อนถึง ‘ความเป็นตัวเราลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือหลาย ๆ ลักษณะที่ซ้อนทับกัน’ เป็นลักษณะของตัวเราเองที่ผู้อื่นรับรู้ได้ ซึ่งการสร้างอัตลักษณ์ในโลกออนไลน์อาจจะด้วยความตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ได้ สรุปคือ ทุกสิ่งอันที่สื่อสารในโลกออนไลน์คือสิ่งที่สะท้อนอัตลักษณ์ที่เราสร้างขึ้น 2. ในมุมมองของคุณ โลกออนไลน์มีอิทธิพลต่อการแสดงอัตลักษณ์ทางเพศอย่างไร? โลกออนไลน์เป็นพื้นที่ทางสังคมเสมือนที่มีอยู่จริง และมีอิทธิพลทั้งในทางเสริมอำนาจและลดทอนอำนาจของอัตลักษณ์ทางเพศ ความหลากหลายของอัตลักษณ์ทางเพศที่มีอยู่ ในโลกจริง สามารถปรากฎตัวตนได้อย่างเต็มที่ในโลกออนไลน์ ไม่ว่าใครจะมีอัตลักษณ์ทางเพศเป็นแบบใดก็สามารถสื่อสารตัวตนอย่างที่เป็นออกมาสู่พื้นที่ทางสังคมเสมือนนี้ได้...

#UmbrellaMovement อำนาจสื่อในมือกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเคลื่อนไหวทางการเมือง ขบวนการร่ม (the Umbrella movement) ในฮ่องกง นับเป็นอีกปรากฏการณ์หนึ่งของการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่กับการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและจัดการประท้วงที่ได้รับความสนใจจากนานาชาติ การเคลื่อนไหวครั้งนี้ถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของฮ่องกง ทั้งในแง่ของระยะเวลาซึ่งเริ่มในช่วงปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 ยาวนานต่อเนื่องถึง 79 วัน มีผู้ถูกจับกุมกว่า 900 คน Ho Chuen Ng ชาวฮ่องกงที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหวดังกล่าว เขาเป็นผู้หนึ่งที่เห็นว่าโลกดิจิทัลทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ที่แตกต่างจากในอดีต เขาใช้แนวคิดของนักสังคมวิทยาชาวสเปนชื่อ Manuel Castells ที่เรียกการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่ในยุคดิจิทัลว่าเป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบเครือข่าย networked social movement  ข้อมูลชุด “พลเมืองดิจิทัลกับการสร้างความเคลื่อนไหวทางสังคม” จากหนังสือเท่าทันสื่อ : อำนาจในมือพลเมืองดิจิทัล โดย โสภิดา วีรกุลเทวัญ ดาวน์โหลดได้ที่: http://cclickthailand.com/…/research/PDF-for-Print-New-2.pdf จัดพิมพ์โดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ...

สื่อออนไลน์กับการสื่อสารความหมายอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ เรื่องราวของ Mylon McArthru เด็กชายวัย 8 ขวบ เป็นคนพื้นเมืองที่เพิ่งย้ายไปอยู่ที่เมืองแห่งหนึ่งในมลรัฐ Alberta ประเทศแคนาดา  เด็กชายร้องไห้หลังกลับ จากโรงเรียน และบอกแม่ว่าต้องการตัดผมยาวที่เขาไว้มาแต่เล็ก แม่ของเขา สอบถามเรื่องนี้กับครูที่โรงเรียน จึงทราบว่าเขาเป็นเด็กชายคนพื้นเมืองคนเดียวในห้องเรียนและโดนเพื่อนรังแกเนื่องจากทรงผมยาวและถักเปีย...

#Metoo “พลังของผู้หญิง ร่วมกันเปิดโปงการคุกคามทางเพศ” ข้อมูลชุด “พลเมืองดิจิทัลกับการสร้างความเคลื่อนไหวทางสังคม” จากหนังสือเท่าทันสื่อ : อำนาจในมือพลเมืองดิจิทัล โดย โสภิดา วีรกุลเทวัญ จัดพิมพ์โดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน #CYMI #MIDL #Socialmovement ...

คุณรู้ไหมว่าการใช้ชีวิตประจำวันนั้น "ถูกครอบงำด้วยสื่อ" ไม่ว่าวันนี้จะไปไหน จะดูหนังเรื่องอะไร จะไปกินอะไร ก็ต้องดูสื่อ หรือแม้แต่ของที่เราเลือกซื้อ เพลงที่เราชอบฟัง ก็เพราะดูและฟังบ่อยๆจากสื่อ ใครหลายๆคนจะรู้สึกว่าตัวเองดูดีหรือไม่ก็เทียบกับภาพในสื่ออีกนั่นแหละแล้วเราจะเท่าทันสื่อได้อย่างไรกันละ ไปดูคาถา 5 ข้อนี้ 1. สื่อนี้ใครเป็นเจ้าของสื่อสื่อทั้งหลายล้วนแต่ถูกสร้างขึ้นโดยมีเจ้าของ มีเป้าหมายการสื่อสารที่ชัดเจนโดย ใช้เทคนิคกลวิธีบางอย่าง เช่น มุมกล้อง สี เสียง หรือการตัดต่อในการนำเสนอเนื้อหาสาร  2. สื่อนี้มีรูปแบบการนำเสนออย่างไร ลักษณะการนำเสนอมีผลต่อการสร้างความรับรู้และสร้างความเป็นจริง เช่นถูกนำเสนอในรูปแบบของการเล่าข่าว การสัมภาษณ์ยืนยันการใช้จริง ใช้การ์ตูน เพื่อเลือกการนำเสนอให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย  3. สื่อนี้ต้องการสื่อสารกับใคร หลากหลายรูปแบบการนำเสนอแตกต่างกันไปตามกลุ่มเป้าหมายเช่น เด็กจะใช้สื่อการ์ตูนหรือเด็กในรุ่นราวคราวเดียวกัน เพื่อสร้างความเป็นกันเองในการโน้มน้าวความสนใจ วัยรุ่นจะใช้ภาพเคลื่อนไหวและเพลงสนุกสนาน ใช้สีสันสดใส เป็นต้น  4. สื่อต้องการทำให้รับรู้และรู้สึกอย่างไร มีอะไรไม่ถูกนำเสนอบ้าง บางสื่อพยายามนำเสนอข้อมูลด้านเดียวเช่นโฆษณาการทำศัลยกรรม นำเสนอคุณค่าความสำคัญของการสวยหล่อ โดยไม่นำเสนอคุณค่าด้านอื่นของความเป็นคนที่ไม่ต้องสวย หล่อก็มีคุณค่าและทำประโยชน์ ทำงานในสังคมได้  5. สื่อหวังผลทำให้เราเชื่อหรือทำอะไร การทำสื่อทุกอย่างหวังผลเสมอ เช่นนักการตลาดทำเพื่อหวังผลกำไร นักการเมืองหวังคะแนนนิยม หรือเพื่อประชาสัมพันธ์ ...