สาระความรู้ – สำหรับบุคคลทั่วไป
16543
page-template-default,page,page-id-16543,bridge-core-2.1.7,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-title-hidden,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-20.4,qode-theme-bridge,qode_header_in_grid,wpb-js-composer js-comp-ver-6.1,vc_responsive

สาระความรู้สำหรับบุคคลทั่วไป

ชวนดูอำนาจในรูปแบบต่าง ๆ ครู VS นักเรียน ใครอยู่ตรงไหนในความสัมพันธ์เชิงอำนาจนี้

ในความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างครูกับนักเรียน ครูมักถูกมองว่าเป็นผู้มีอำนาจมากกว่าผู้เรียนอยู่เสมอ ซึ่งทางศูนย์ผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความเป็นธรรมได้แบ่งประเภทอำนาจออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ อำนาจเหนือกว่า อำนาจร่วม และอำนาจภายใน ที่สะท้อนลักษณะความสัมพันธ์เชิงอำนาจของคนในสังคม อำนาจเหนือกว่า เป็นอำนาจที่บุคคลนำแหล่งอำนาจของตนเองมีอยู่มาใช้เพื่อให้ตนเองเป็นผู้คุมเกมหรือได้ประโยชน์ในสถานการณ์นั้น อำนาจร่วม เป็นอำนาจที่บุคคลใช้แหล่งอำนาจของตนเองเพื่อเปิดโอกาส สนับสนุน ให้ผู้มีแหล่งอำนาจน้อยกว่าได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจร่วมกัน บนพื้นฐานของการให้ความเคารพในฐานะที่เป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน อำนาจภายใน คือ อำนาจที่อยู่ภายในตัวบุคคล ...
Read More

แหล่งที่มาของอำนาจของบุคคล มาจากไหนได้บ้าง? ครูกับนักเรียน ใครมีแหล่งอำนาจมากกว่ากัน?

แหล่งอำนาจของบุคคล มีที่มาทั้งจากสถานภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด เช่น เพศ วัย วงศ์ตระกูล ถิ่นที่อยู่อาศัย ชนชั้นทางสังคม อาชีพ ยศตำแหน่ง ชื่อเสียง การเป็นสมาชิกกลุ่มหรือสังกัดหน่วยงานใด ๆ ระดับการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ รูปร่างและรูปลักษณ์ สีผิว เชื้อชาติ สัญชาติศาสนา ความรู้และประสบการณ์ ...
Read More

สสย. ชวนอ่าน : [Fact sheet] การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล (Screen Time Management)

ไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่ที่ใช้เวลาหน้าจอมากขึ้น แต่จำนวนเด็กไทยที่มีพฤติกรรมติดหน้าจอเริ่มมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ เป็นเรื่องที่น่ากังวลมากที่พ่อแม่สมัยใหม่ใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด โดยปล่อยให้อุปกรณ์ดิจิทัลเป็นพี่เลี้ยงเด็ก ดังที่เคยเห็นเด็กเล็ก วัยไม่ถึง 2 ขวบ สามารถใช้สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว โดยพ่อแม่ไม่ทราบว่า หากใช้โดยไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี อุปกรณ์เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็กได้ เด็กไทยจำนวนไม่น้อยยังไม่สามารถสร้างความสมดุลระหว่างกิจกรรมที่ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอไม่ว่าจะเป็นสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ ...
Read More

วัฒนธรรมแบบครอบงำในการศึกษาไทยซ่อนอยู่ตรงไหนบ้าง?

ในระบบการศึกษาแบบไทยโดยภาพรวมเราปฏิเสธไม่ได้ว่าวัฒนธรรมแบบครอบงำนั้นมีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาชาติเป็นอย่างมาก จึงเป็นที่น่าสนใจว่าแนวคิดวัฒนธรรมแบบครอบงำนี้ถูกสอดแทรกผ่านเครื่องมือการจัดการศึกษาในรูปแบบใดบ้างจึงทำให้การศึกษาไทยยังก้าวไม่ข้ามกรอบแนวคิดการสร้างเด็กดีมีวินัยเสียที ที่มา: อวยพร เขื่อนแก้ว. (2564). ห้องเรียนเปลี่ยนวัฒนธรรม ถอนรากถอนโคนการศึกษาแบบอำนาจนิยม #ให้มันจบที่รุ่นเรา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.). อ่านและดาวน์โหลดได้ที่ : http://cclickthailand.com/book1/ ...
Read More

วัฒนธรรมแบบครอบงำ VS วัฒนธรรมแบบอำนาจร่วม การศึกษาไทยเป็นแบบไหนกันแน่?

ทุกวันนี้คำว่าอำนาจถูกพูดถึงอยู่ในทุกระบบโครงสร้างสังคมไทย หนึ่งในนั้นคือแนวคิดเรื่องอำนาจในระบบการศึกษา.ถ้าจะให้วิเคราะห์กันจริงจัง อาจจะต้องอ้างถึงไรแอน ไอสเลอร์ นักสังคมศาสตร์ชาวอเมริกัน เชื้อสายออสเตรีย ที่ได้พัฒนาทฤษฎีพัฒนาการทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ซึ่งมีใจความว่าด้วยวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของโลกนั้นถูกขับเคลื่อนในรูปแบบวัฒนธรรมแบบครอบงำ และวัฒนธรรมอำนาจร่วม ซึ่งทั้งสองรูปแบบนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันตั้งแต่ระดับแนวคิดไปจนถึงผลลัพธ์การออกแบบในเชิงระบบโครงสร้างทางสังคม แล้วอำนาจในระบบโครงสร้างการศึกษาไทยเป็นแบบไหนกันนะ? ที่มา: อวยพร เขื่อนแก้ว. (2564). ห้องเรียนเปลี่ยนวัฒนธรรม ถอนรากถอนโคนการศึกษาแบบอำนาจนิยม #ให้มันจบที่รุ่นเรา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน ...
Read More

รวม Quote เวทีแลกเปลี่ยน เมือง เปิดกบาล ครั้งที่ 1

เมือง สัมพันธ์กับชีวิต ความหลากหลายของผู้คนและวิถีชีวิตการออกแบบพื้นที่เมืองโดยมีแนวคิดเบื้องหลัง ที่ต้องการให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ใช้ประโยชน์ และเข้าถึงคนทุกคนอย่างเท่าเทียม จึงเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อโจทย์ คือบันไดที่เป็นมากกว่าบันได..มองได้หลากหลายมิติ เป็นทั้งเครื่องมือสื่อสาร และเป็นพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ของผู้คน บันไดจะเชื่อมโยงถึงคน-เมือง-ความเป็นสาธารณะ-การสื่อสาร-และการอมีส่วนร่วมได้อย่างไร ติดตามได้ใน Set Quote เวทีแลกเปลี่ยน เมือง เปิดกบาล ...
Read More