สาระความรู้สำหรับนักการศึกษา
ภาคต่อของหนังสือ “ห้องเรียนเปลี่ยนวัฒนธรรม” ที่ชวนผู้อ่านทำความเข้าใจกับระบบอำนาจนิยมเพื่อนำไปสู่วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ (Peace Education) หนังสือเล่มนี้สื่อสารโดยตรงกับพ่อแม่ผู้ปกครองและครอบครัวถึงการเลี้ยงดูบุตรหลาน ชวนเปลี่ยนจากการใช้ “อำนาจเหนือ” เป็น”อำนาจร่วม” สร้างความปลอดภัย ความเข้าใจ ความรักและความสุขแก่สมาชิกทุกคนในครอบครัว เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้บุตรหลานสามารถรับมือกับปัญหาได้อย่างมีสติปัญญาและความรับผิดชอบท่ามกลางวิกฤตินานัปการในศตวรรษนี้ เขียนและเรียบเรียง : อวยพร เขื่อนแก้ว บรรณาธิการ : เฌอทะเล ...
Read More
แนวคิด MIDL For Inclusive Cities เป็นการนำทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ซึ่งสำคัญต่อคนทุกวัยโดยเฉพาะเด็กเยาวชนที่ใช้สื่อและอยู่กับสื่อตลอดเวลา มาผนวกกับการสร้างเมืองของทุกคน หรือ Inclusive Cities โดยมีหัวใจสำคัญคือเด็กและเยาวชนเป็นผู้มีบทบาทหลักในการพัฒนาร่วมสร้างเมือง แวดล้อมด้วยผู้ใหญ่คอยให้การสนับสนุน เพื่อขับเคลื่อนเมืองตามบริบทจุดเน้นของพื้นที่ เช่น เป็นเมืองที่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เมืองที่มีความปลอดภัย เมืองที่ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางสังคมได้ ...
Read More
ในความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างครูกับนักเรียน ครูมักถูกมองว่าเป็นผู้มีอำนาจมากกว่าผู้เรียนอยู่เสมอ ซึ่งทางศูนย์ผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความเป็นธรรมได้แบ่งประเภทอำนาจออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ อำนาจเหนือกว่า อำนาจร่วม และอำนาจภายใน ที่สะท้อนลักษณะความสัมพันธ์เชิงอำนาจของคนในสังคม อำนาจเหนือกว่า เป็นอำนาจที่บุคคลนำแหล่งอำนาจของตนเองมีอยู่มาใช้เพื่อให้ตนเองเป็นผู้คุมเกมหรือได้ประโยชน์ในสถานการณ์นั้น อำนาจร่วม เป็นอำนาจที่บุคคลใช้แหล่งอำนาจของตนเองเพื่อเปิดโอกาส สนับสนุน ให้ผู้มีแหล่งอำนาจน้อยกว่าได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจร่วมกัน บนพื้นฐานของการให้ความเคารพในฐานะที่เป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน อำนาจภายใน คือ อำนาจที่อยู่ภายในตัวบุคคล ...
Read More
แหล่งอำนาจของบุคคล มีที่มาทั้งจากสถานภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด เช่น เพศ วัย วงศ์ตระกูล ถิ่นที่อยู่อาศัย ชนชั้นทางสังคม อาชีพ ยศตำแหน่ง ชื่อเสียง การเป็นสมาชิกกลุ่มหรือสังกัดหน่วยงานใด ๆ ระดับการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ รูปร่างและรูปลักษณ์ สีผิว เชื้อชาติ สัญชาติศาสนา ความรู้และประสบการณ์ ...
Read More
ในระบบการศึกษาแบบไทยโดยภาพรวมเราปฏิเสธไม่ได้ว่าวัฒนธรรมแบบครอบงำนั้นมีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาชาติเป็นอย่างมาก จึงเป็นที่น่าสนใจว่าแนวคิดวัฒนธรรมแบบครอบงำนี้ถูกสอดแทรกผ่านเครื่องมือการจัดการศึกษาในรูปแบบใดบ้างจึงทำให้การศึกษาไทยยังก้าวไม่ข้ามกรอบแนวคิดการสร้างเด็กดีมีวินัยเสียที ที่มา: อวยพร เขื่อนแก้ว. (2564). ห้องเรียนเปลี่ยนวัฒนธรรม ถอนรากถอนโคนการศึกษาแบบอำนาจนิยม #ให้มันจบที่รุ่นเรา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.). อ่านและดาวน์โหลดได้ที่ : http://cclickthailand.com/book1/ ...
Read More
ทุกวันนี้คำว่าอำนาจถูกพูดถึงอยู่ในทุกระบบโครงสร้างสังคมไทย หนึ่งในนั้นคือแนวคิดเรื่องอำนาจในระบบการศึกษา.ถ้าจะให้วิเคราะห์กันจริงจัง อาจจะต้องอ้างถึงไรแอน ไอสเลอร์ นักสังคมศาสตร์ชาวอเมริกัน เชื้อสายออสเตรีย ที่ได้พัฒนาทฤษฎีพัฒนาการทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ซึ่งมีใจความว่าด้วยวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของโลกนั้นถูกขับเคลื่อนในรูปแบบวัฒนธรรมแบบครอบงำ และวัฒนธรรมอำนาจร่วม ซึ่งทั้งสองรูปแบบนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันตั้งแต่ระดับแนวคิดไปจนถึงผลลัพธ์การออกแบบในเชิงระบบโครงสร้างทางสังคม แล้วอำนาจในระบบโครงสร้างการศึกษาไทยเป็นแบบไหนกันนะ? ที่มา: อวยพร เขื่อนแก้ว. (2564). ห้องเรียนเปลี่ยนวัฒนธรรม ถอนรากถอนโคนการศึกษาแบบอำนาจนิยม #ให้มันจบที่รุ่นเรา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน ...
Read More