MIDL: การพัฒนากรอบแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
17513
post-template-default,single,single-post,postid-17513,single-format-standard,bridge-core-2.1.7,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-title-hidden,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-20.4,qode-theme-bridge,qode_header_in_grid,wpb-js-composer js-comp-ver-6.1,vc_responsive

MIDL: การพัฒนากรอบแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

เมื่อวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2559 สสย. ร่วมกับ Thai Civic Education และกสทช. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนากรอบแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

ณ โรงแรมเมนดาริน กรุงเทพฯ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความรู้และสร้างกรอบแนวคิดเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิตัล (Media Information and Digital Literacy หรือ MIDL)ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญด้านหนึ่งของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายหลักคือ ผู้เชี่ยวชาญในสาขานิเทศศาสตร์ ครุศาสตร์ และนักพัฒนาองค์กรเอกชนซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบุคคลากรในวิชาชีพสื่อและวิชาชีพครูในการวางรากฐานความรู้ในกับเด็กและเยาวชนในประเทศ

การประชุมวันแรกเริ่มด้วยนางสาวเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม ต่อด้วยผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย นำประเด็นสนทนาร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความเหมือนและความแตกต่างของ “ประชาชน พลเมือง พลเรือน” และ “พลเมืองกับพลเมืองประชาธิปไตย” เห็นภาพเป้าหมายของการพัฒนาแนวคิดร่วมกันของผู้เข้าร่วมประชุม โดยผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่มองว่า การจะเป็นพลเมืองแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับบริบทางสังคมและระบบการปกครองในแต่ละะประเทศ

หลังจากนั้น ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล ได้นำกระบวนการระดมความคิดเห็นในการนิยามความหมายของคำว่า “MIDL” (Media Information and Digital Literacy) เพื่อให้เห็นการเชื่อมโยงของความหมายการเท่าทันสื่อ และความเป็นพลเมือง ในขณะเดียวกันเพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันของนักวิชาการทั้ง 3 กลุ่ม ก่อนที่จะแลกเปลียนความรู้ร่วมกันต่อในวันที่สองของการประชุม(24 พ.ค. 59) เพื่อทบทวนความรู้ของวันที่ผ่านมาและต่อด้วยการระดมความคิดเห็นในประเด็น “ปัญหาและข้อท้าทายในการสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อในสังคมไทย” จากหลากหลายมุมมองเพื่อลงลึกถึงประเด็นให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และการถกเถียงในแต่ละประเด็น เช่น สร้างสื่อเป็นวิเคราะห์สื่อได้ = MIDL หรือไม่ และ ประเด็น MIDL จะเป็นเครื่องมือในการสร้างพลเมืองได้หรือไม่ เป็นต้น

นอกจากนี้ ทีมกระบวนการได้เริ่มระดมความคิดเห็นในประเด็น “พลเมืองประชาธิปไตยที่มีความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ต้องมีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะหรือค่านิยมอย่างไรบ้าง” ซึ่งทำให้เห็นถึงการทบทวนความรู้ การวิเคราะห์เชื่อมโยง และต่อยอดสู่การสร้างคุณลักษณะของพลเมืองเท่าทันสื่อในระบอบประชาธิปไตย

การประชุมครั้งนี้คาดหวังให้เกิดการพัฒนากรอบแนวคิดเรื่องMIDL ซึ่งจะมีพัฒนาแนวคิดดังกล่าวเพื่อลงลึกในรายละเอียด ในวันที่ 11-13 มิถุนายน 2559 จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เพื่อให้แนวคิด MIDLสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้กับกระบวนการเรียนการสอนในการศึกษาทุกระดับ และสามารถประยุกต์ใช้กับงานพัฒนาต่างๆได้

No Comments

Post A Comment