สาระความรู้ – สำหรับนักการศึกษา
-1
archive,paged,category,category-72,paged-2,category-paged-2,bridge-core-2.1.7,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-title-hidden,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-20.4,qode-theme-bridge,qode_header_in_grid,wpb-js-composer js-comp-ver-6.1,vc_responsive

ในระบบการศึกษาแบบไทยโดยภาพรวมเราปฏิเสธไม่ได้ว่าวัฒนธรรมแบบครอบงำนั้นมีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาชาติเป็นอย่างมาก จึงเป็นที่น่าสนใจว่าแนวคิดวัฒนธรรมแบบครอบงำนี้ถูกสอดแทรกผ่านเครื่องมือการจัดการศึกษาในรูปแบบใดบ้างจึงทำให้การศึกษาไทยยังก้าวไม่ข้ามกรอบแนวคิดการสร้างเด็กดีมีวินัยเสียที ที่มา: อวยพร เขื่อนแก้ว. (2564). ห้องเรียนเปลี่ยนวัฒนธรรม ถอนรากถอนโคนการศึกษาแบบอำนาจนิยม #ให้มันจบที่รุ่นเรา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.). อ่านและดาวน์โหลดได้ที่ : http://cclickthailand.com/book1/ ...

ทุกวันนี้คำว่าอำนาจถูกพูดถึงอยู่ในทุกระบบโครงสร้างสังคมไทย หนึ่งในนั้นคือแนวคิดเรื่องอำนาจในระบบการศึกษา.ถ้าจะให้วิเคราะห์กันจริงจัง อาจจะต้องอ้างถึงไรแอน ไอสเลอร์ นักสังคมศาสตร์ชาวอเมริกัน เชื้อสายออสเตรีย ที่ได้พัฒนาทฤษฎีพัฒนาการทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ซึ่งมีใจความว่าด้วยวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของโลกนั้นถูกขับเคลื่อนในรูปแบบวัฒนธรรมแบบครอบงำ และวัฒนธรรมอำนาจร่วม ซึ่งทั้งสองรูปแบบนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันตั้งแต่ระดับแนวคิดไปจนถึงผลลัพธ์การออกแบบในเชิงระบบโครงสร้างทางสังคม แล้วอำนาจในระบบโครงสร้างการศึกษาไทยเป็นแบบไหนกันนะ? ที่มา: อวยพร เขื่อนแก้ว. (2564). ห้องเรียนเปลี่ยนวัฒนธรรม ถอนรากถอนโคนการศึกษาแบบอำนาจนิยม #ให้มันจบที่รุ่นเรา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) อ่านเพิ่มและดาวน์โหลดได้ที่ : http://cclickthailand.com/book1/ ...

“เท่าทันสื่อ สร้างเมืองด้วยมือของทุกคน” ได้รวบรวมแนวคิด ความเห็นและมุมมองจากกิจกรรมและการทดลองใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในโครงการย่อยของ MIDL for Inclusive Cities : สร้างเมืองของทุกคน รวมทั้งการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดเรื่องเมือง สิทธิที่จะอยู่ในเมือง เมืองที่นับรวมทุกคน และเท่าทันสื่อ เท่าทันข้อมูลข่าวสาร เท่าทันดิจิทัลในบริบทของความเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมอีกด้วย Download ...

หลังชมภาพยนตร์สารคดี Human Scale ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการออกแบบและวางผังเมืองที่สั่นสะเทือนวงการสถาปนิกไปทั่วโลก กับโจทย์ใหม่ที่ว่าด้วยการออกแบบพื้นที่ที่ต้องมีการนับรวมชีวิตประจำวันของคนในเมืองเข้าไปด้วย ได้มีการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนประเด็นที่พบจากภาพยนตร์ คุณเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ได้ให้มุมมองที่สำคัญไว้ว่า การสร้างให้เห็นเป็นตัวอย่าง เป็นสื่อที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลง หากเราเปิดมุมมองให้คนเกิดความรู้สึกร่วมและสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ ก็จะช่วยให้เขาสามารถลุกขึ้นมาเป็นตัวอย่างในการเปลี่ยนแปลงเมืองได้ #MIDLWEEK2018 #MIDLforInclusiveCities#Inclusivecity ...

เสียงสะท้อนจากมุมมองคนทำงานขับเคลื่อนการใช้ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อสร้างการสื่อสารและการเปลี่ยนแปลงในระดับเมือง จากงาน MIDL Week 2018: MIDL forInclusive Cities สร้างเมืองของทุกคน  วันท่ี 3-4 พฤศจิกายน 2561 โรงแรมปรินซ์รามา กรุงเทพฯ #MIDLWEEK2018 #MIDLforInclusiveCities #Inclusivecity ...

เสียงสะท้อนจากมุมมองคนทำงานขับเคลื่อนการใช้ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อสร้างการสื่อสารและการเปลี่ยนแปลงในระดับเมือง  "Talk...

การกลั่นแกล้งรังแกในโรงเรียนกลายเป็นเรื่องที่มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์จากการทำงานวิจัยในสหราชอาณาจักร โดย นักวิจัยชื่อ อลิซาเบซ แนซเซม นักวิจัยแห่ง The Centre for the Study of Practice and Culture in Education, Birmingham City University เธอทำวิจัยเรื่องนี้มานานกว่าทศวรรษและเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ในระดับโรงเรียนและพบว่า แนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำให้เด็ก ๆ มีบทบาทนำในการจัดการแก้ปัญหาดังกล่าว เธอเสนอ 5 วิธีที่ครูสามารถเริ่มต้นได้ ได้แก่ การปรับปรุงความเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก  ขอบเขตของการกลั่นแกล้งรังแกกว้างขวาง นับตั้งแต่การแกล้งหยอกล้อกันแบบเบา ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง เช่น การตั้งฉายา หรือ การตบตี ซึ่งครูในโรงเรียนสามารถพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พวกเขาพบเจอ  หรือ ถามถึงสาเหตุว่า ทำไมถึงได้รังแกเพื่อน และคุยกับพวกเขาว่า ควรแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างไร บ่อยครั้งที่การกลั่นแกล้งรังแกกัน เกิดขึ้นเพื่อให้ตนเองได้เป็นที่นิยมชื่นชอบในหมู่เพื่อน หรือบ้างเป็นการลงมือทำเพื่อแก้เซ็ง...

การพัฒนาผู้เรียนแต่ละช่วงวัยให้เป็นพลเมืองประชาธิปไตยที่รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ควรครอบคลุมคุณลักษณะ ความรู้และทักษะ ในแต่ละมิติของการพัฒนา ดังต่อไปนี้ การพัฒนาช่วงวัย 1-5 ปีการพัฒนาช่วงวัย 6-12 ปีการพัฒนาช่วงวัย 13-18 ปีการพัฒนาช่วงวัย 18-25 ปีการพัฒนาช่วงวัย 25 ปี ขึ้นไป ...

มิติการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อความเป็นพลเมือง ตามช่วงวัย 1-5 ปี แบ่งออกเป็น การรู้จักตนเองและทักษะชีวิต การอยู่ร่วมกันในยุคสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล  และการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย ...

มิติการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อความเป็นพลเมือง ตามช่วงวัย 6-12 ปี แบ่ง ออกเป็น การรู้จักตนเองและทักษะชีวิต การอยู่ร่วมกันในยุคสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล  และการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย ...