cclickthailand
-1
archive,paged,author,author-cclickthailand,author-2,paged-3,author-paged-3,bridge-core-2.1.7,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-title-hidden,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-20.4,qode-theme-bridge,qode_header_in_grid,wpb-js-composer js-comp-ver-6.1,vc_responsive

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ขับเคลื่อนสนับสนุนภาคีเครือข่ายในการพัฒนา ส่งเสริมเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ โดยแต่ละองค์กรภายใต้ภาคีเครือข่ายนี้ ต่างมีกระบวนการ เครื่องมือ ฯลฯ ที่หลากหลายทั้งเหมือนและต่างกัน ที่ภายใต้ความหลากหลายเหล่านี้ มีแกนนำเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ในฐานะนักสื่อสารสุขภาวะเกิดขึ้น กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ จากความหลากหลายที่เกิดขึ้นทั้งพื้นที่ปฏิบัติการ และแกนนำเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ในฐานะนักสื่อสารสุขภาวะนี้ ทำให้ภาคีเครือข่าย สสย. เห็นพ้องตรงกันว่า การสานพลังความร่วมมือ การเติมแนวคิด เชื่อมร้อยกันเป็นเครือข่ายของนักสื่อสารสุขภาวะ และการแชร์แบ่งปันเรื่องดีๆ สู่สาธารณะ เป็นเรื่องสำคัญ .จากแนวคิดสาน เติม และเชื่อมข้างต้น จึงเป็นที่มาที่ก่อให้เกิดความร่วมมือกันขององค์กรในภาคีเครือข่าย สสย. (สสย. มพด. มยพ. MIDL มอส. และสาธารณศึกษา-Feeltrip) โดยมีกิจกรรมหลักๆ 3 ส่วนคือ 1.เที่ยวบ้านเพื่อน 6 พื้นที่...

นิทรรศการกลุ่มจาก พิสิฎฐ์กุล ควรแถลง, พิชชาภา หวังประเสริฐกุล, FD7, ไกร ศรีดี, Sa-ard สะอาด, ปวริศ ธนปิยะวณิชย์, ฉัตรชัย พุ่มพวง, Sina Wittayawiroj®, Baphoboy และ juli baker and summer.งานจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม - 13 กุมภาพันธ์ 2565 11:00-19:00 (ปิดวันจันทร์) ...

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม 2565 17:00 เริ่มงาน 17:20 สนทนากับศิลปิน “ศิลปะในฐานะเครื่องมือสื่อสาร” กับ juli baker and summer, Sa-ard สะอาด, แชมป์-ฉัตรชัย พุ่มพวง จาก สหภาพคนทำงาน Workers' Union เข็มพร วิรุณราพันธ์ และอวยพร เขื่อนแก้ว ดำเนินการสนทนาโดย วาดดาว-ชุมาพร แต่งเกลี้ยง 18:30 Rap Performance by FD7 17:30-19:00 Durational Performance by พิชชาภา หวังประเสริฐกุล วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 14:00-16:00 ร่วมทำ Patchwork และพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกับศิลปิน Juli Baker and...

ในระบบการศึกษาแบบไทยโดยภาพรวมเราปฏิเสธไม่ได้ว่าวัฒนธรรมแบบครอบงำนั้นมีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาชาติเป็นอย่างมาก จึงเป็นที่น่าสนใจว่าแนวคิดวัฒนธรรมแบบครอบงำนี้ถูกสอดแทรกผ่านเครื่องมือการจัดการศึกษาในรูปแบบใดบ้างจึงทำให้การศึกษาไทยยังก้าวไม่ข้ามกรอบแนวคิดการสร้างเด็กดีมีวินัยเสียที ที่มา: อวยพร เขื่อนแก้ว. (2564). ห้องเรียนเปลี่ยนวัฒนธรรม ถอนรากถอนโคนการศึกษาแบบอำนาจนิยม #ให้มันจบที่รุ่นเรา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.). อ่านและดาวน์โหลดได้ที่ : http://cclickthailand.com/book1/ ...

ทุกวันนี้คำว่าอำนาจถูกพูดถึงอยู่ในทุกระบบโครงสร้างสังคมไทย หนึ่งในนั้นคือแนวคิดเรื่องอำนาจในระบบการศึกษา.ถ้าจะให้วิเคราะห์กันจริงจัง อาจจะต้องอ้างถึงไรแอน ไอสเลอร์ นักสังคมศาสตร์ชาวอเมริกัน เชื้อสายออสเตรีย ที่ได้พัฒนาทฤษฎีพัฒนาการทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ซึ่งมีใจความว่าด้วยวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของโลกนั้นถูกขับเคลื่อนในรูปแบบวัฒนธรรมแบบครอบงำ และวัฒนธรรมอำนาจร่วม ซึ่งทั้งสองรูปแบบนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันตั้งแต่ระดับแนวคิดไปจนถึงผลลัพธ์การออกแบบในเชิงระบบโครงสร้างทางสังคม แล้วอำนาจในระบบโครงสร้างการศึกษาไทยเป็นแบบไหนกันนะ? ที่มา: อวยพร เขื่อนแก้ว. (2564). ห้องเรียนเปลี่ยนวัฒนธรรม ถอนรากถอนโคนการศึกษาแบบอำนาจนิยม #ให้มันจบที่รุ่นเรา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) อ่านเพิ่มและดาวน์โหลดได้ที่ : http://cclickthailand.com/book1/ ...

ขอเชิญร่วมรับฟังการเสวนาวิชาการ​ Onlineเรื่องบทบาทเยาวชนในการขับเคลื่อนเมืองร้อยเอ็ดวันพฤหัสบดีที่​ 27​ มกราคม​ 2565เวลา​ 9.00-12.00​ น.ผ่านช่องทาง​ Webex​ meeting ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่https://forms.gle/jNtz8jn448EWP8kG9 ...

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “สื่อสารสร้างสรรค์สร้างคุณค่าชุมชน” ผ่านโปรแกรมออนไลน์ Zoom Cloud Meeting ระหว่างวันเสาร์ที่ 17 ถึงวันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม 2564 โดยกิจกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ทบทวนแนวคิดและสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานประเด็น 3ดีวิถีสุข เรียนรู้กระบวนการทำงานสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อนำมาสร้างคุณค่าในชุมชน ทดลองออกแบบกระบวนการสื่อสารไปจนถึงการผลิตสื่อสร้างสรรค์ของตนเอง กิจกรรมมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 121 คน เป็นเด็กเยาวชนอายุ 10-19 ปี แกนนำชุมชน ครู และผู้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาเด็ก จากพื้นที่ภาคกลาง 5 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ชัยนาท อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา เนื้อหากิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยในวันที่ 17 ธันวาคมเป็นการสร้างความเข้าใจในการตระหนักถึงคุณค่าในชุมชน ผ่านเครื่องมือการทำงาน 3ส ได้แก่ สำรวจ สร้างสรรค์ สื่อสาร ผ่านการทำแผนที่ชุมชนเพื่อค้นหาสิ่งมีคุณค่าที่ซ่อนอยู่...