cclickthailand
-1
archive,paged,author,author-cclickthailand,author-2,paged-24,author-paged-24,bridge-core-2.1.7,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-title-hidden,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-20.4,qode-theme-bridge,qode_header_in_grid,wpb-js-composer js-comp-ver-6.1,vc_responsive

จัดทำโดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) และเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย (Thai Civic Education) Download ...

บทสัมภาษณ์ ครูนำโชค อุ่นเวียง ครูสังคมศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ทำไมสื่อไทยชอบนำเสนอ LGBT ในภาพตัวแทนของความตลก เป็นผู้สร้างสีสัน ให้เสียงหัวเราะ คุณมีมุมมมองในประเด็นนี้อย่างไร? การนำเสนอของสื่อที่ทำให้คนกลุ่มนี้เป็นภาพของความตลกพบในยุคแรก ๆ ที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก แต่ปัจจุบันเมื่อภาพลักษณ์ของกลุ่ม LGBT เปลี่ยนไป ด้วยความสามารถต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานวิชาการ ความสามารถในการบันเทิง ไม่ว่าจะเป็น การแต่งหน้า การเป็นดีไซน์เนอร์ ก็ทำให้คนกลุ่มนี้ได้รับการยอมรับมากขึ้นจนลบภาพของความตลกไป ส่วนตัวมองว่าเดิมที่สื่อนำเสนอภาพเป็นตัวตลกในเชิงเหมารวมเพราะสื่อต้องการให้ผู้ชมมีความสนใจ แต่ในยุคหลังจะเห็นว่าการนำเสนอ LGBT ในหลากหลายแง่มุมมากขึ้น โดยเน้นเรื่องความสามารถ แต่ก็ยังมีบ้างที่ LGBT บางคนก็ยังคงต้องการพื้นที่ โดยการนำเสนอภาพลักษณ์ของตัวเองให้เป็นที่จดจำจึงต้องทำให้ตัวเองเป็นจุดสนใจด้วยการแสดงภาพด้านตลก ในโรงเรียน การนำเสนอเรื่องราว LGBT ได้รับการยอมรับมากน้อยเพียงไร พบเคสที่เป็นปัญหาบ้างมั้ย? ตอนนี้เราอยู่ในโลกยุคสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ ทั้งเชิงวัฒนธรรม ความคิด ค่านิยม ทัศนคติ การที่คนจะ anti LGBT นั้นน้อยมาก ๆ ซึ่งการแสดงออกให้เห็นถึงการเหยียดเพศส่วนตัวนั้นพบน้อยมาก...

พัฒนาการของสื่อ สารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัล ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว และได้เคลื่อนเข้าสู่ยุคสื่อหลอมรวม (Convergent Media) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต การสื่อสาร และการเรียนรู้ของผู้คนในสังคม จากข้อมูลของ Internet World Stats ปี พ.ศ. 2558 พบว่า มีการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกสามพันกว่าล้านคน (Internet World Stats, 2015) เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารแบบดั้งเดิมในโลกแห่งความเป็นจริงไปสู่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในโลกเสมือนจริง (Virtual World) ส่งผลให้เกิดยุคแห่งการสื่อสารไร้พรมแดน และเป็นยุคหลังข้อมูลสารสนเทศ (Post-Information Age) ที่ผู้คนจากทั่วทุกมุมสามารถเข้าถึงสื่อ ได้รับข้อมูลสารสนเทศจำนวนมากผ่านสื่อ และเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างรวดเร็ว สื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล จึงเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกันและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เป็นชุดของสมรรถนะ (Competency) ที่ครอบคลุมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศผ่านสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล การเลือกรับ วิเคราะห์ ประเมิน และนำข้อมูลที่ได้รับไปใช้ในทางสร้างสรรค์ รวมทั้งความสามารถผลิตสื่อเพื่อขับเคลื่อนสังคม ได้ด้วยตนเอง...

M การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) สมรรถนะในการใช้สื่อต่างๆ รวมถึงการวิเคราะห์ และเข้าใจในรูปแบบของสื่อ และเทคนิคต่างๆ ที่สื่อใช้ในการสร้าง ผลกระทบต่อผู้รับสื่อและความสามารถในการอ่านวิเคราะห์ประเมิน และสร้างสื่อในหลากหลายรูปแบบได้ I การรู้เท่าทันสารสนเทศ (Information Literacy) สมรรถนะในการประเมิน เลือกใช้และสื่อสารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพในหลากหลายรูปแบบ และรวมถึงความเข้าใจข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ในความหมายเชิงจริยธรรม D การรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy) สมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เครื่องมือสื่อสาร เครือข่ายต่างๆ เพื่อค้นหาข้อมูล (เข้าถึง) ประมวลผล  (เข้าใจ) และสร้างสรรค์ข้อมูล (ประยุกต์ใช้) ได้หลากหลายรูปแบบ ...

ลักษณะของพลเมืองประชาธิปไตยที่รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล พลเมืองที่มีสมรรถนะในการเข้าถึง เข้าใจ วิเคราะห์ ตรวจสอบ ตีความ คิดอย่างมีวิจารณญาณ ประเมินประโยชน์และโทษ เลือกรับ ใช้ประโยชน์ และสร้างสรรค์สื่อ สารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างอำนาจรัฐ ทุน สื่อ ตลอดจนบริบททางสังคมและเศรษฐกิจ เป็นผู้ที่เคารพสิทธิและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่หลากหลายได้อย่างรับผิดชอบ และใช้สื่อ สารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการต่อรองอำนาจและสร้างการเปลี่ยนแปลงในฐานะพลเมืองประชาธิปไตยยุคดิจิทัล ที่กระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมและมุ่งเน้นความยุติธรรมทางสังคมเป็นสำคัญ ...

โครงสร้างของกรอบแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย 3 แบบ ประกอบด้วย 1. พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ สามารถเข้าถึงสื่อ แหล่งสารสนเทศ และสื่อดิจิทัลที่หลากหลาย มีทักษะวิเคราะห์ ประเมินคุณภาพ คุณค่าสื่อ ข่าวสาร เลือกรับและใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และครอบครัว อย่างปลอดภัย มีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฎระเบียบ มีจริยธรรม และร้องเรียนให้เกิดการแก้ไขปัญหาเมื่อได้รับผลกระทบโดยตรง 2. พลเมืองที่มีส่วนร่วม นอกจากความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ ที่มีในพลเมืองแบบที่ 1แล้ว พลเมืองที่มีส่วนร่วมจะใช้สื่อ สารสนเทศ และสื่อดิจิทัล เป็นเครื่องมือในการสื่อสารอัตลักษณ์ของตนเอง และรวมกลุ่มกันเพื่อแก้ไขปัญหา และพัฒนาสื่อ ข่าวสาร แหล่งสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มและชุมชน 3. พลเมืองมุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม มีความรู้และเข้าใจเรื่อง โครงสร้าง ระบบสื่อ สารสนเทศ สื่อดิจิทัล ใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคมดีขึ้น มีบทบาททำให้เกิดการแก้ไขปัญหาและพัฒนาในระดับโครงสร้างกฎหมาย วัฒนธรรม โดยมีการพัฒนาคุณลักษณะ (Character) ความรู้ (Knowledge) และทักษะ (Skill)...

 แบบที่ 1 พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ สามารถเข้าถึงสื่อที่หลากหลายวิเคราะห์ ประเมินคุณภาพ คุณค่า ความน่าเชื่อถือ ผลกระทบของสื่อกลั่นกรอง เลือกสรร ใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัวร้องเรียนให้มีการแก้ไขเมื่อได้รับผลกระทบโดยตรง แบบที่ 2 พลเมืองที่มีส่วนร่วม เข้าใจบทบาทหน้าที่ของสื่อประเภทต่างๆ สามารถเข้าถึงสื่อที่มีคุณภาพมากขึ้นสร้างสื่อได้ ใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและกลุ่มรวมกลุ่มร้องเรียนให้มีการแก้ไขสื่อไม่เหมาะสม แบบที่ 3 พลเมืองมุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม เข้าใจระบบ โครงสร้างสื่อ นโยบาย กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ช่องว่างของการเข้าถึงและการใช้สื่อในการพัฒนาสังคมใช้สื่อเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคมดีขึ้นรวมกลุ่ม ผลักดันให้แก้ปัญหาสื่อในระดับโครงสร้าง นโยบาย หรือเสนอกฎหมาย กฎระเบียบ ...

จากกรณี ส.ส.หญิง ท่านหนึ่งไลฟ์สดถึงเพื่อนสมาชิกในสภาผู้แทนราษฎร จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมถึงความเหมาะสมของเนื้อหาในไลฟ์นั้น  วันนี้สถาบันเด็กและเยาวชน (สสย.) จึงพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับหนึ่งในทักษะสำคัญในการเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัล (DQ Digital Intelligence) นั่นก็คือ "ทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง" (Digital Citizen Identity)   . . แล้วอัตลักษณ์ที่ดีคืออะไร? การสร้างอัตลักษณ์ที่ดีบนโลกออนไลน์ คือ ความสามารถในการสร้างและบริหารจัดการอัตลักษณ์ที่ดีของตนเองไว้ได้ทั้งในโลกออนไลน์และโลกความจริง เสริมสร้างภาพลักษณ์ในโลกออนไลน์ของตนเองในแง่บวก ทั้งความคิด ความรู้สึก และการกระทำ โดยมีวิจารณญานในการรับส่งข่าวสารและแสดงความคิดเห็น มีความเห็นอก เห็นใจผู้ร่วมใช้งานในสังคมออนไลน์ และรู้จักรับผิดชอบต่อการกระทำ ไม่กระทำการที่ผิดกฎหมายและจริยธรรมในโลกออนไลน์ เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ การกลั่นแกล้งหรือการใช้วาจาที่สร้างความเกลียดชังผู้อื่นทางสื่อออนไลน์  อ่านเพิ่มเติมและดาวน์โหลดเอกสาร ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ: Digital Intelligence) ได้ที่: คลิ๊กเพื่ออ่านเพิ่ม ...

หลังจาก สนช. ได้มีการประกาศเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงทางไซเบอร์ ไปเมื่อวันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา เราลองมาดูกันว่า แล้วความเป็นส่วนตัวในโลกไซเบอร์หล่ะคืออะไร??  ความเป็นส่วนตัวในโลกไซเบอร์ คือ สิทธิการปกป้องข้อมูลความส่วนตัวในโลกออนไลน์ของผู้ใช้งานที่บุคคลหรือหน่วยงานอื่นจะนำไปจัดเก็บ นำไปใช้ประโยชน์ หรือนำข้อมูลนั้นไปเผยแพร่  ซึ่งส่วนหนึ่งของข้อมูลส่วนตัวของเราได้ถูกจัดเก็บไว้โดยผู้ให้บริการโทรศัพท์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต  และผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งแม้จะมีนโยบายด้านความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานในระดับหนึ่ง แต่ก็มีพฤติการบางอย่าง ทั้งจากหน่วยงานจัดเก็บข้อมูลและบุคคลทั่วไปที่สามารถกระทบต่อความเป็ส่วนตัวในโลกไซเบอร์ได้ แล้วพฤติการใดบ้างที่จัดว่าเป็นการคุกคามความเป็นส่วนตัวไนโลกไซเบอร์ หาคำตอบได้จาก infographic นี้ อ่านความรู้เพิ่มเติมและดาวน์โหลดเอกสารได้ที่: คลิ๊กเพื่ออ่านเพิ่มเติม #cybersecurity #midl #รู้เท่าทันสื่อ ...