cclickthailand
-1
archive,paged,author,author-cclickthailand,author-2,paged-2,author-paged-2,bridge-core-2.1.7,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-title-hidden,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-20.4,qode-theme-bridge,qode_header_in_grid,wpb-js-composer js-comp-ver-6.1,vc_responsive

โครงการพลเมืองเยาวชนเท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทลัเพื่อร่วมสร้างเมืองใน พื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ภายใต้ยุทธศาสตร์ MIDL for Inclusive Cities ได้นำแนวคิดเรื่อง inclusive city (เมืองสำหรับทุกคน) มาใช้ในการแก้ไขปัญหาขยะ เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้คนในชุมชนท่าขอนยาง จังหวัดมหาสารคาม ได้ร่วมเรียนรู้อัตลักษณ์ คุณค่าชุมชน ร่วมค้นหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ร่วมกันออกแบบชุมชนที่น่าอยู่ และทุกคนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ในชุมชนนี้ได้ แกนนำชมรมสื่อสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ลงพื้นที่ชุมชนท่าขอนยางเพื่อเข้าร่วมทำกิจกรรมบุญผะเหวดร่วมกับคนในชุมชน และได้เชิญชวนคนในชุมชนท่าขอนยางมาร่วมแต้มสีเล่าเรื่องคุณค่าชุมชนร่วมกันผ่านผืนผ้าผะเหวด ตามวิถีประเพณีอีสาน ในผ้าผะเหวดผืนนี้จะเป็นการแต้มสีร่วมกันโดยเยาวชน ผู้ใหญ่ในชุมชน และแกนนำชมรมสื่อสาร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยได้มีการนำวัสดุเหลือใช้ในชุมชนมาตกแต่งให้สวยงามผ่านความคิดที่สร้างสรรค์เพื่อให้คนในชุมชนได้เห็นคุณค่า ภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ วิถีชีวิตของการร่วมกันดูแลชุมชน วัฒนธรรม และประเพณีที่สืบทอดกันตลอดมาของคนในชุมชน เพื่อให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับทุกคน ...

แหล่งอำนาจของบุคคล มีที่มาทั้งจากสถานภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด เช่น เพศ วัย วงศ์ตระกูล ถิ่นที่อยู่อาศัย ชนชั้นทางสังคม อาชีพ ยศตำแหน่ง ชื่อเสียง การเป็นสมาชิกกลุ่มหรือสังกัดหน่วยงานใด ๆ ระดับการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ รูปร่างและรูปลักษณ์ สีผิว เชื้อชาติ สัญชาติศาสนา ความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนความเชื่อทางการเมืองและสังคม และอื่น ๆ ที่ส่งเสริมให้บุคคลนั้นมีอำนาจเหนือกว่า เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วก็จะพบว่าครูมีแหล่งที่มาของอำนาจมากกว่านักเรียนหลายเท่าตัว จากสถานภาพความเป็นครู วัยวุฒิ คุณวุฒิ ในขณะที่นักเรียนแทบจะไม่มีแหล่งที่มาของอำนาจเลย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูต้องระมัดระวังในการใช้แหล่งอำนาจของตนเองในรูปแบบของการกดขี่หรือควบคุมนักเรียนให้เป็นไปตามที่ตนเองต้องการโดยไม่รู้ตัว ด้วยความเชื่อว่าการควบคุมนั้นเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง ครูจึงจำเป็นต้องทบทวนตนเองอยู่เสมอว่า ในการใช้อำนาจของครูนั้นเป็นไปในลักษณะที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่ายหรือไม่ หรือได้สร้างให้เกิดผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจของนักเรียนอย่างไร และต้องแน่ใจว่าการใช้อำนาจนั้นจะไม่กลายเป็นการส่งต่อระบบอำนาจนิยมให้ดำเนินต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ที่มา: อวยพร เขื่อนแก้ว. (2564). ห้องเรียนเปลี่ยนวัฒนธรรม ถอนรากถอนโคนการศึกษาแบบอำนาจนิยม #ให้มันจบที่รุ่นเรา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.). อ่านและดาวน์โหลดได้ที่ : http://cclickthailand.com/book1/ ...

ชุมชนบ้านสันติสุข ต.ขุนควร อ.ปง จ.พะเยา26-27 มีนาคม 2565 ชุมชนบ้านสันติสุข เป็นชุมชนกลางหุบเขาดอยผาจิ ที่รายล้อมด้วยภูเขา ลำห้วยน้อยใหญ่ (ตั้งตระหง่านเหนือระดับน้ำทะเล 1,458 เมตร เขตรอยต่อระหว่างจังหวัดน่านกับจังหวัดพะเยา) โดยมี “ลำน้ำสาว” เป็นแม่น้ำสายสำคัญและยังเป็นพื้นที่เรียนรู้ฐานทรัพยากรธรรมชาติและวิถีของชุมชน #GalleryWalkลำน้ำสาว : เดิน มอง ถอด เปลี่ยน เป็นหนึ่งในกิจกรรมการเรียนรู้สำคัญของโรงเรียนบ้านสันติสุข ภายใต้แนวคิดของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชน เป็นกระบวนการเรียนรู้จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ สัตว์น้ำนานาชนิด และวิถีชีวิตของคนกับน้ำในการอุปโภค บริโภค ทำการเกษตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ฯลฯ รวมทั้งสภาพของลำน้ำที่เปลี่ยนแปลงไป #เที่ยวบ้านเพื่อน No.7 ขอชวนกันออกเดินทางไปตะลุยและสำรวจลำน้ำสาวด้วยกัน ณ ชุมชนบ้านสันติสุข ต.ขุนควร อ.ปง จ.พะเยา 26-27 มีนาคม 2565 (ระยะเวลาในการเดินทางไปกลับและร่วมกิจกรรม คือ...

“วัฒนธรรมปกาเกอะญอ เริ่มจางหายไปจากคนรุ่นใหม่ ทั้งหลักคิด คำสอน ปรัชญาของปกาเกอะญอ และความเป็นปกาเกอะญอ องค์ความรู้เหล่านี้ไม่เคยสอนอยู่ในโรงเรียนทั้งๆ ที่เป็นวิถีชีวิต ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงสำรวจ สืบค้นและสร้างการเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นปกาเกอะญอกับเด็กๆ ในชุมชน เกิดการค้นพบและออกแบบวิชาต่างๆ ภายใต้ต้นทุนที่ชุมชนมีทั้งพื้นที่ องค์ความรู้ ผู้รู้ในชุมชน โดยเราอยากจะเชื่อมโยงและส่งต่อความรู้เหล่านี้กับคนรุ่นใหม่ผ่านวิชาชุมชนที่เป็นวิชาชีวิต ทั้งการเล่นดนตรี ศิลปะการป้องกันตัว การเรียนรู้เกี่ยวกับธรรชาติ วิชาชีพของปกาเกอะญอ ทรัพยากรธรรมชาติ โดยแก่นของแต่ละวิชามีหนึ่งเดียว คือ การดำรงชีวิตอยู่ของปกาเกอะญอ ที่เชื่อว่าชีวิตของผู้คนนั้นเชื่อมโยงกับทุกสรรพสิ่ง และนี่คือวิชาชีวิตของเรา” #FriendDay#เที่ยวบ้านเพื่อน ขอชวนเหล่านักสื่อสารสุขภาวะ สสย. เดินทางขึ้นดอย ไปเที่ยวบ้านของเก่อเส่ทู หรือ เจริญ ดินุ ครูชุมชนแห่งโรงเรียนขยะลอแอะ และวงดนตรีขยะลอแอะ ชวนกันไปเดินสำรวจสวนคนขี้เกียจ ไร่หมุนเวียน ป่าชุมชน ลัดเลาะป่าต้นน้ำ เรียนรู้ปรัชญาและวิถีชีวิตความเป็นปกาเกอะญอ กับ #7วิชาปกาเกอะญอชุมชนบ้านหนองเต่า ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ การปรับตัว และการสร้างสรรค์นวตกรรมชุมชน ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม...

#FriendDay#เที่ยวบ้านเพื่อน “เที่ยวบ้าน รักษ์เขาชะเมา”.เมื่อพูดถึงกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เป็นที่รู้จัก ด้วยมีกิจกรรมที่ทำมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง จนสร้างคนรุ่นใหม่นักกิจกรรมมารุ่นแล้วรุ่นเล่า ...

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ร่วมกับ เครือข่ายผู้ใส่ใจนวัตกรรมเพื่อเยาวชนไทย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ‘การออกแบบและประเมินผลนวัตกรรมการสื่อสารของเยาวชน” ให้กับเยาวชนที่สนใจการออกแบบบอร์ดเกมการศึกษาด้านความหลากหลายทางเพศของเยาวชน และผู้สนใจ ระหว่างวันที่ 26 - 27 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ (TCDC) สาขาขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ...

ภาพบรรยากาศงานวันแรก ของการเปิดเทศกาลงานรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล MIDL for Inclusive Cities ละอ่อนฮ่วมใจ๋ ตีฆ้อง แป๋งเมือง ณ โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ...

ไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่ที่ใช้เวลาหน้าจอมากขึ้น แต่จำนวนเด็กไทยที่มีพฤติกรรมติดหน้าจอเริ่มมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ เป็นเรื่องที่น่ากังวลมากที่พ่อแม่สมัยใหม่ใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด โดยปล่อยให้อุปกรณ์ดิจิทัลเป็นพี่เลี้ยงเด็ก ดังที่เคยเห็นเด็กเล็ก วัยไม่ถึง 2 ขวบ สามารถใช้สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว โดยพ่อแม่ไม่ทราบว่า หากใช้โดยไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี อุปกรณ์เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็กได้ เด็กไทยจำนวนไม่น้อยยังไม่สามารถสร้างความสมดุลระหว่างกิจกรรมที่ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอไม่ว่าจะเป็นสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ กับกิจกรรมอื่น ๆ ได้ ดังรายงานสถานการณ์ของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นในปี 2560 ที่พบว่าเด็กป่วยเป็นโรคติดเกมรายใหม่เข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นจากปี 2559 ถึง 6 เท่าตัว และล่าสุดในปี 2562 องค์การอนามัยโลกได้ให้ความสำคัญต่อการใช้เวลาหน้าจอของเด็ก โดยการออกแนวทางแนะนำการใช้เวลาหน้าจอสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ดังนั้น การบริหารจัดการเวลาหน้าจอ (Screen Time Management) ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะความฉลาดทางดิจิทัล (DQ) จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พลเมืองดิจิทัลควรฝึกฝน เพื่อจะได้รู้เท่าทันสื่อ และรู้จักการจัดสรรเวลาหน้าจอให้กับตนเองและคนรอบข้าง เขียนและเรียบเรียง...

MIDL for Inclusive Cities : ละอ่อน ฮ่วมใจ๋ ตีฆ้อง แป๋งเมือง วันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2565 ณ โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย.แต่เนื่องด้วยสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทางพื้นที่จำเป็นต้องขอจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมงาน จึงสามารถเปิดรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ได้ทั้งหมด 10 ท่าน ท่านใดที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตามลิงก์นี้ https://forms.gle/mi7tup3rdqjpXsbB6 *กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมภายในของเครือข่ายนักสื่อสารสุขภาวะเท่านั้น #FriendDay#เที่ยวบ้านเพื่อน#สสส#สสย#มพด#มยพ#มอส#อีสานตุ้มโฮม#MIDL#feeltrip ...

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565 (เวลา 10.00 – 12.00 น.) เพราะมหานครนั้นรวมทุกความเจริญเอาไว้ ทั้งความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม จึงไม่แปลกที่มหานครหรือเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ จึงเป็นปลายทางของผู้คน ที่มีผู้คนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาทั้งเพื่อหางานทำ เรียนหนังสือ ฯลฯ และความเป็นศูนย์กลางที่รวมศูนย์เช่นนี้ จึงทำให้เกิดชุมชนแออัดจำนวนมาก กระจายตัวอยู่ทั่วเมือง และหนาแน่นในบริเวณพื้นที่เศรษฐกิจของเมือง ด้วยเหตุเช่นนี้ ชุมชนแออัดกับเมืองจึงเป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อกันอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ หากแต่ “ชุมชนแออัด” ในการรับรู้ ความเข้าใจของผู้คนในสังคมกลับเป็นภาพจำอีกแบบ เช่น แออัด รก ไม่ปลอดภัย ไม่สะอาดตา ฯลฯ ซึ่งภาพจำเหล่านี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การผลิตซ้ำเนื้อหาที่ลดทอนผ่านสื่อกระแสหลัก ส่งผลอย่างยิ่งต่อการสร้างภาพจำเช่นนี้ ทั้งนี้ “รองเมือง” เป็นเขตหนึ่งของกรุงเทพมหานคร พื้นที่แห่งนี้มีความหลากหลายทั้งในสถานะพื้นที่รอยต่อพื้นที่การศึกษา(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ) พื้นที่ชุมชนการค้าเก่าแก่ (เซียงกง ร้านค้าขนส่ง ชุมชนคนจีน ฯลฯ) พื้นที่ศูนย์กลางการเดินทาง เช่น...