แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อฯกับพลเมือง 3 แบบ
17135
post-template-default,single,single-post,postid-17135,single-format-standard,bridge-core-2.1.7,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-title-hidden,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-20.4,qode-theme-bridge,qode_header_in_grid,wpb-js-composer js-comp-ver-6.1,vc_responsive

แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อฯกับพลเมือง 3 แบบ

โครงสร้างของกรอบแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย 3 แบบ ประกอบด้วย

1. พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ สามารถเข้าถึงสื่อ แหล่งสารสนเทศ และสื่อดิจิทัลที่หลากหลาย มีทักษะวิเคราะห์ ประเมินคุณภาพ คุณค่าสื่อ ข่าวสาร เลือกรับและใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และครอบครัว อย่างปลอดภัย มีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฎระเบียบ มีจริยธรรม และร้องเรียนให้เกิดการแก้ไขปัญหาเมื่อได้รับผลกระทบโดยตรง

2. พลเมืองที่มีส่วนร่วม นอกจากความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ ที่มีในพลเมืองแบบที่ 1แล้ว พลเมืองที่มีส่วนร่วมจะใช้สื่อ สารสนเทศ และสื่อดิจิทัล เป็นเครื่องมือในการสื่อสารอัตลักษณ์ของตนเอง และรวมกลุ่มกันเพื่อแก้ไขปัญหา และพัฒนาสื่อ ข่าวสาร แหล่งสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มและชุมชน

3. พลเมืองมุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม มีความรู้และเข้าใจเรื่อง โครงสร้าง ระบบสื่อ สารสนเทศ สื่อดิจิทัล ใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคมดีขึ้น มีบทบาททำให้เกิดการแก้ไขปัญหาและพัฒนาในระดับโครงสร้างกฎหมาย วัฒนธรรม โดยมีการพัฒนาคุณลักษณะ (Character) ความรู้ (Knowledge) และทักษะ (Skill) ใน 4 มิติ ได้แก่ 1) การรู้จักตนเองและทักษะชีวิต 2) การอยู่ร่วมกันในยุคสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 3) การอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย และ 4) การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม  โดยขอบเขตและพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละช่วงวัยให้เป็นพลเมืองประชาธิปไตยที่รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ควรครอบคลุมคุณลักษณะ ความรู้และทักษะ ในแต่ละมิติของการพัฒนา

No Comments

Post A Comment