เที่ยวบ้านเพื่อน No.1 #รองเมืองเรืองยิ้ม
18262
post-template-default,single,single-post,postid-18262,single-format-standard,bridge-core-2.1.7,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-title-hidden,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-20.4,qode-theme-bridge,qode_header_in_grid,wpb-js-composer js-comp-ver-6.1,vc_responsive

เที่ยวบ้านเพื่อน No.1 #รองเมืองเรืองยิ้ม

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565 (เวลา 10.00 – 12.00 น.) เพราะมหานครนั้นรวมทุกความเจริญเอาไว้ ทั้งความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม จึงไม่แปลกที่มหานครหรือเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ จึงเป็นปลายทางของผู้คน ที่มีผู้คนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาทั้งเพื่อหางานทำ เรียนหนังสือ ฯลฯ

และความเป็นศูนย์กลางที่รวมศูนย์เช่นนี้ จึงทำให้เกิดชุมชนแออัดจำนวนมาก กระจายตัวอยู่ทั่วเมือง และหนาแน่นในบริเวณพื้นที่เศรษฐกิจของเมือง ด้วยเหตุเช่นนี้ ชุมชนแออัดกับเมืองจึงเป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อกันอย่างไม่อาจปฏิเสธได้

หากแต่ “ชุมชนแออัด” ในการรับรู้ ความเข้าใจของผู้คนในสังคมกลับเป็นภาพจำอีกแบบ เช่น แออัด รก ไม่ปลอดภัย ไม่สะอาดตา ฯลฯ ซึ่งภาพจำเหล่านี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การผลิตซ้ำเนื้อหาที่ลดทอนผ่านสื่อกระแสหลัก ส่งผลอย่างยิ่งต่อการสร้างภาพจำเช่นนี้

ทั้งนี้ “รองเมือง” เป็นเขตหนึ่งของกรุงเทพมหานคร พื้นที่แห่งนี้มีความหลากหลายทั้งในสถานะพื้นที่รอยต่อพื้นที่การศึกษา(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ) พื้นที่ชุมชนการค้าเก่าแก่ (เซียงกง ร้านค้าขนส่ง ชุมชนคนจีน ฯลฯ) พื้นที่ศูนย์กลางการเดินทาง เช่น สถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นพื้นที่ศูนย์กลางการเดินทาง สถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง) ที่ส่งผลทำให้ “รองเมือง” กลายเป็นพื้นที่ที่ผู้คนเดินทางหลั่งไหลเข้ามาจำนวนมาก ชุมชนเก่าแก่ดั้งเดิมหลายชุมชน กลายสภาพเป็นชุมชนแออัด และหลายชุมชนต่างต้องเผชิญกับสถานการณ์ปัญหา ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ด้วยผู้คนจำนวนไม่น้อยมีอาชีพในภาคบริการของเมือง ไม่มีความมั่นคงทางรายได้ ฯลฯ, ปัญหาสังคม การเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ เช่น การศึกษา สุขภาพ ความมั่นคงปลอดภัยในทรัพย์สิน ฯลฯ รวมทั้งปัญหาเด็กเยาวชน ขาดพื้นที่เล่น พื้นที่ปลอดภัย เผชิญต่อความเปราะบางในการเติบโต ฯลฯ

จากความเป็นชุมชนแออัดในเมืองใหญ่กับภาพจำที่สังคมร่วมกันผลิตซ้ำผ่านสื่อกระแสหลัก จากสถานการณ์ความเปราะบางต่างๆ ที่ผู้คนเผชิญอยู่ ทั้งไม่ปลอดภัย เต็มไปด้วยพื้นที่เสี่ยงนั้น ปัจจัยเหล่านี้ นำมาสู่การสร้างความร่วมมือ ประสานพลังกันของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) ชุมชน(เด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่) และท้องถิ่น ร่วมกันก่อการเปลี่ยนพื้นที่ชุมชนแออัดที่ไม่ปลอดภัย ให้กลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ และพื้นที่ที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มของผู้คนทุกวัย

และนี่คือ “รองเมือง เรืองยิ้ม” เส้นทางการเรียนรู้ ที่จะพาทุกคนสำรวจและเรียนรู้วิถีของผู้คนผ่านการลัดเลาะ ตะลุยชุมชนแออัดรอบๆ สถานีรถไฟหัวลำโพง การเดินเท้าที่จะพาทุกคนไปเดินชมศิลปะ วิถีความเป็นอยู่ของชุมชนตรอกสลักหิน, ชมสถาปัตยกรรมวัดดวงแข ที่สร้างเมื่อสมัยรัชกาลที่3, ลัดเลาะชมศิลปะ ถามไถ่ชีวิตความเป็นอยู่ผู้คนที่มีความเกี่ยวพันกับรถไฟ(ชุมชนวัดดวงแข) และทำ workshop กระดุมจีนหรือพับกระดาษไหว้เจ้า ซึ่งเป็นอาชีพที่กำลังจะสูญหายของชาวตรอกสลักหิน

อยากชวนทุกคนไปพบปะพุดคุยกับผู้คนที่หลากหลาย ไปสร้างความเข้าใจใหม่ที่มีต่อชุมชนแออัด ไปเรียนรู้เครื่องมือ กระบวนการในการพลิก/ เปลี่ยนพื้นที่เสี่ยงไม่ปลอดภัยให้เรืองยิ้มไปด้วยกัน

แล้วพบกัน 12 กุมภาพันธ์ 2565 รับจำนวนจำกัด 20 คน ลงทะเบียนสมัครได้ที่https://forms.gle/C67qLSMnQjx1VAaHA

*รับสมัครถึงวันที่ 9 ก.พ.

*กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมภายในของภาคีเครือช่ายนักสื่อสารสุขภาวะ สสย.

*เป็น 1 ใน 6 ทริปเที่ยวบ้านเพื่อน

#FriendDay#เที่ยวบ้านเพื่อน#รองเมืองเรืองยิ้ม.#สสย. #มพด. #อีสานตุ้มโอม#มยพ. #MIDL#มอส. #FeelTrip#สานเติมเชื่อมแชร์

No Comments

Post A Comment