ลูกติดเกม เกมที่ครอบครัวต้องช่วยกันแก้
16935
post-template-default,single,single-post,postid-16935,single-format-standard,bridge-core-2.1.7,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-title-hidden,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-20.4,qode-theme-bridge,qode_header_in_grid,wpb-js-composer js-comp-ver-6.1,vc_responsive

ลูกติดเกม เกมที่ครอบครัวต้องช่วยกันแก้

ผลสำรวจเด็กไทย “ติดเกม-เล่นออนไลน์” ปี 2556 พุ่ง 2.7 ล้านคน จากเยาวชน 18 ล้านคน

จากข้อมูลจากแบบสำรวจที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร่วมกับสถาบันสุขภาพจิตและวัยรุ่น กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข เก็บข้อมูลเด็กและเยาวชนกลุ่มตัวอย่าง 2 หมื่นคนทั่วประเทศ ระหว่างเดือนมี.ค.-มิ.ย.2556

น.พ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวถึง 4 อาการ “เด็กติดเกม” ที่พ่อแม่ควรรู้

1.กลุ่มอาการแสวงหาการเล่น คือ จะเล่นเกมทุกเวลาที่ว่าง

2.กลุ่มอาการชินชากับการเล่น คือ ต้องเล่นนานขึ้นจึงจะสนุกเป็นที่พอใจ

3.กลุ่มอาการขาดการเล่นไม่ได้ จะมีอาการหงุดหงิดและก้าวร้าว จนถึงขั้นทำร้ายพ่อแม่ผู้ปกครอง พยายามฆ่าตัวตาย เมื่อถูกห้ามไม่ให้เล่นเกม หรือหงอยเหงาหากไม่ได้เล่นเกมอารมณ์แปรปรวนง่าย ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ ถือว่าเข้าข่ายติดเกมรุนแรง

4.กลุ่มอาการเสียการทำหน้าที่หลัก เช่น เสียการเรียน เสียมนุษย์สัมพันธ์กับคนรอบข้าง เก็บตัวอยู่บ้านเพื่อเล่นเกม ไม่นอนในเวลากลางคืน

เกมประโยชน์และโทษ

ประโยชน์ของเกมนั้นมีหลายอย่าง การทำให้เกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนานแต่การเล่นเกมหรือการใช้อินเตอร์เน็ตนานๆ จะส่งผลกระทบได้ ทั้งต่อสุขภาพทางกาย เช่น โรคกระดูก โทษต่อสุขภาพจิต เช่นการมีมนุษยสัมพันธ์ต่างๆ และโทษต่อการผลิตผลงานของชีวิต เช่น เสียการเรียน

ชวนมาเยียวยาพฤติกรรมติดเกม

ระดับแรกเริ่มเล่นเกม

1.สร้างกติกาการเล่น การสร้างกติกาทำให้ลูกควบคุมตนเอง วินัยที่ดีคือการควบคุมตนเองให้ได้
ในเด็กเล็กพ่อ แม่สอนง่ายๆ โดยใช้นาฬิกาปลุก ตั้งนาฬิกาปลุกให้กับลูกให้เล่นเกมหนึ่งชั่วโมง พอเสียงดังกริ๊งๆๆๆ ต้องเลิก ให้เล่นได้เฉพาะเสาร์อาทิตย์ วันธรรมดาไม่ให้เล่น

ในเด็กโตที่เริ่มติดเกม ให้เขาเป็นคนวางแผนเองว่าอยากจะลดชั่วโมงการเล่นเกมสัปดาห์ละกี่ชั่วโมง พ่อกับแม่ควรชวนลูกวางแผน ด้วยกันเช่นลูกเล่นเกมวันละ 10 ชม.สัปดาห์หน้าเราจะให้เล่นวันละ 9 ชม. สัปดาห์ถัดไปเป็นวันละ 8 ชม. เรื่อย ๆ ไป ระหว่างที่ลดลงพ่อแม่เองก็ต้องชมเชยสำคัญกว่าชมเชยคือให้เวลาแก่เขามากขึ้นชดเชยเวลาที่เขาได้คืนมา

2.พ่อ แม่ควรพยายามเข้าถึงลูก ในเมื่อลูกไม่ยอมออกจากโลกของเกม พ่อแม่ต้องเป็นฝ่ายเข้าไปทำความรู้จักโลกของเกมที่ลูกชอบเล่น แสดงความสนใจในสิ่งที่ลูกกำลังเล่นโดยไม่ตำหนิ 

หากเห็นว่าเป็นเกมที่ไม่เหมาะสม หรือเกมที่ใช้ความรุนแรง พ่อแม่ควรพยายามเบี่ยงเบนให้เด็กหันมาสนใจเกมอื่นที่มีส่วนดี แล้วดึงเอาส่วนดีของเกมมาสอนลูกเช่น เกมสร้างเมือง เกมวางแผนต่าง ๆ เกมที่มีบทบาทสมมุติเพื่อฝึกทักษะทางสังคม เป็นต้น

3.มีเวลาอยู่ใกล้และติดตามการเล่นเกมของลูก ทำความรู้จักและศึกษาหาข้อมูลเนื้อหาของเกม

เพื่อจะได้พูดคุยด้วยภาษา(เกม)เดียวกันกับลูก ลูกก็จะค่อยๆรับรู้ได้ว่า พ่อกับแม่คือคนที่เข้าใจเค้า พร้อมที่จะอยู่เคียงข้างเค้าทุกเมื่อ สัมพันธภาพที่ดีก็จะเริ่มกลับมาสู่ครอบครัวค่ะ

4.แต่ถ้าหากทำวิธีข้างต้นแล้วไม่ได้ผล พ่อแม่ผู้ปกครองควรพาลูกมาพบจิตแพทย์เด็ก เนื่องจากเด็กอาจมีปัญหาสุขภาพจิตอยู่ลึกๆ เช่น เป็นโรคซึมเศร้า วิตกกังวล สมาธิสั้น เพื่อรับการวินิจฉัยและบำบัดรักษาต่อไป

ข้อมูลจาก HealthyGamer, กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 15 ต.ค.56 ,นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ (วิธีรักษาเด็กติดเกมอย่างสั้นที่สุด ,วารสาร V magazine ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ม.ค.-มี.ค.55)

No Comments

Post A Comment