ทำไมคนถึงหลงเชื่อข่าวปลอม (Fake News)?….
17908
post-template-default,single,single-post,postid-17908,single-format-standard,bridge-core-2.1.7,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-title-hidden,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-20.4,qode-theme-bridge,qode_header_in_grid,wpb-js-composer js-comp-ver-6.1,vc_responsive

ทำไมคนถึงหลงเชื่อข่าวปลอม (Fake News)?….

สถานการณ์วิกฤต อย่างการระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบัน ทำให้โลกออนไลน์มีการแชร์ข้อมูลกันอย่างเร่งรีบ และในบางครั้งเราตกลงปลงใจเชื่อข้อมูลข่าวปลอมนั้นโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะข้อมูลที่ถูกระบุว่าเป็นข่าวหรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญ ๆ

วันนี้ สสย. จะพาทุกท่านมาดูเหตุผลกันว่า ทำไมคนเราถึงหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ น่าจะหนีไม่พ้น …
.
1. ตกหลุมพราง: ผู้อ่านมีแนวโน้มที่จะแชร์ข่าวปลอมที่ตรงกับความคิดความเชื่อของตนเองอยู่แล้วคนสร้างข่าวปลอมตั้งใจแต่แรกที่จะหลอกผู้อ่านข่าว
.
2. ไม่สามารถแยกแยะข่าวบนหน้าเว็บ: ปัจจุบันที่ผู้อ่านข่าวส่วนใหญ่รับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งเป็นสื่อที่ข่าวปลอมถูกทำให้กลมกลืนกับข่าวจริง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการจัดหน้า หรือการแอบอ้างเป็นแหล่งข่าว จึงทำให้ผู้อ่านสับสนและยากที่จะแยกแยะข่าวปลอม
.
3. เป็นกลไกของความเชื่อ: เมื่อมีเพื่อนหรือคนในครอบครัวส่งต่อข่าวมาให้อ่านผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ผู้อ่านมักจะไม่ตระหนักหรือใช้วิจารณญาณในการตรวจสอบข่าวนั้น ๆ ก่อน เพราะคิดว่าผู้ส่งคงกลั่นกรองมาเรียบร้อยแล้ว
.
4. ข่าวปลอมเล่นกับความรู้สึก: มักใช้การเน้นพาดหัวที่หวือหวา เนื้อข่าวที่เร้าอารมณ์ เพราะรู้ว่าคนอ่านจะถูกกระตุ้นอารมณ์ให้มีปฏิกิริยาต่อข่าวนั้น ๆ เช่นการกดเข้าไปอ่าน กดไลค์ แสดงความเห็นและช่วยแชร์ข่าวออกไป
.
5. ผู้อ่านมีช่วงความสนใจสั้น: อีกหนึ่งกลวิธีที่ใช้ในการเผยแพร่ข่าวปลอมหรือข่าวที่มีคุณภาพต่ำ คือ การหาผลประโยชน์จากพฤติกรรม ‘นักอ่านเวลาน้อย’

เราจะเห็นว่าพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการรับรู้และเชื่อข่าวสารโดยขาดทักษะการรู้เท่าทันข่าวนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่สมควรมองข้าม ข่าวสารที่ไม่มีความจริงหรือที่เรียกว่าข่าวปลอม(Fake news) ที่เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์นั้น สามารถส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวมได้ เนื่องจากข่าวปลอม มีการบิดเบือน ใส่ร้าย และชี้นำจนอาจทำให้ประชาชนเกิดความสับสน และขัดแย้งจนอาจส่งผลให้เกิดความวุ่นวายในสังคม
.
.
อ่านความรู้เพิ่มเติมในหัวข้ออื่น ๆ จาก [Fact sheet] รู้เท่าทันข่าว (News Literacy) และสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่: http://cclickthailand.com/fact-sheet-%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0…/

#newsliteracy #MIDL #fakenews

No Comments

Post A Comment