ชวนดูอำนาจในรูปแบบต่าง ๆ ครู VS นักเรียน ใครอยู่ตรงไหนในความสัมพันธ์เชิงอำนาจนี้
18308
post-template-default,single,single-post,postid-18308,single-format-standard,bridge-core-2.1.7,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-title-hidden,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-20.4,qode-theme-bridge,qode_header_in_grid,wpb-js-composer js-comp-ver-6.1,vc_responsive

ชวนดูอำนาจในรูปแบบต่าง ๆ ครู VS นักเรียน ใครอยู่ตรงไหนในความสัมพันธ์เชิงอำนาจนี้

ในความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างครูกับนักเรียน ครูมักถูกมองว่าเป็นผู้มีอำนาจมากกว่าผู้เรียนอยู่เสมอ ซึ่งทางศูนย์ผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความเป็นธรรมได้แบ่งประเภทอำนาจออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ อำนาจเหนือกว่า อำนาจร่วม และอำนาจภายใน ที่สะท้อนลักษณะความสัมพันธ์เชิงอำนาจของคนในสังคม

อำนาจเหนือกว่า เป็นอำนาจที่บุคคลนำแหล่งอำนาจของตนเองมีอยู่มาใช้เพื่อให้ตนเองเป็นผู้คุมเกมหรือได้ประโยชน์ในสถานการณ์นั้น อำนาจร่วม เป็นอำนาจที่บุคคลใช้แหล่งอำนาจของตนเองเพื่อเปิดโอกาส สนับสนุน ให้ผู้มีแหล่งอำนาจน้อยกว่าได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจร่วมกัน บนพื้นฐานของการให้ความเคารพในฐานะที่เป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน

อำนาจภายใน คือ อำนาจที่อยู่ภายในตัวบุคคล ใช้เป็นแรงผลักดันเพื่อให้เกิดศักยภาพในตัวบุคคล ความคิดสร้างสรรค์ การเห็นคุณค่าในตนเอง และมักถูกใช้เพื่อรับมือกับอุปสรรคในชีวิตตลอดจนการต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมในสังคม

เราจะพบว่าครูมีทั้งอำนาจเหนือกว่าและอำนาจภายในตนเอง ในขณะที่นักเรียนส่วนใหญ่มีเพียงอำนาจภายในเท่านั้น อย่างไรก็ดี เราสามารถจัดสรรความสัมพันธ์ของอำนาจทั้ง 3 แบบนี้ใหม่ให้เป็นไปในรูปแบบอำนาจร่วมเพื่อนำไปสู่การเกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในชั้นเรียน และไม่ทำผู้เรียนตกเป็นเหยื่อของการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม

ที่มา: อวยพร เขื่อนแก้ว. (2564). ห้องเรียนเปลี่ยนวัฒนธรรม ถอนรากถอนโคนการศึกษาแบบอำนาจนิยม #ให้มันจบที่รุ่นเรา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.).

อ่านและดาวน์โหลดได้ที่ : http://cclickthailand.com/book1/

No Comments

Post A Comment