สร้างทักษะ “รู้เท่าทันข่าว” (News Literacy) เพื่อรับมือกับข่าวปลอม
17911
post-template-default,single,single-post,postid-17911,single-format-standard,bridge-core-2.1.7,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-title-hidden,qode_grid_1300,footer_responsive_adv,qode-child-theme-ver-1.0.0,qode-theme-ver-20.4,qode-theme-bridge,qode_header_in_grid,wpb-js-composer js-comp-ver-6.1,vc_responsive

สร้างทักษะ “รู้เท่าทันข่าว” (News Literacy) เพื่อรับมือกับข่าวปลอม

แม้ว่าปัญหาข่าวปลอมจะได้รับการดูแลและจัดการจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคกฎหมายและนโยบายการป้องกันจากหลายภาคส่วน แต่สิ่งที่น่ากังวลคือความไม่รู้เท่าทันข่าวสารของตัวผู้ใช้งานเองที่ตกหลุมพรางของผู้สร้างข่าวปลอม ดังนั้น ผู้รับข่าวสารเองควรมีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อและรับมือกับข่าวปลอม 13 ทักษะสำคัญ คือ

>> 1. ตรวจสอบวันที่ ว่าข่าวปลอมนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือไม่
.
>> 2. ตรวจสอบหลักฐาน แหล่งข้อมูลของผู้เขียน และการอ้างอิงจากผู้เชี่ยวชาญ
.
>> 3. สังเกตสิ่งผิดปกติ เช่น การสะกดคำผิด การจัดวางรูปแบบที่ดูไม่เป็นมืออาชีพเสียเท่าไหร่
.
>> 4. อย่าหลงเชื่อหัวข้อข่าว โดยเฉพาะพาดหัวข่าวที่สะดุดตา ใช้ตัวหนา เครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) หรือการพาดหัวข่าวแบบหวือหวา
.
>> 5. พิจารณารูปภาพ ข่าวปลอมมักใช้ภาพหรือวีดีโอตัดต่อ บิดเบือน หรือบางครั้งใช้ภาพประกอบที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์
.
>> 6. ข่าวนั้นเป็นมุกตลกหรือไม่ เราต้องแยกให้ออกระหว่างข่าวปลอมกับมุกตลก มุกตลกล้อเลียนเสียดสีจะมีน้ำเสียงการเล่าเพื่อความสนุกสนาน
.
>> 7. ตรวจสอบข้อมูลสนับสนุน เช่น ข้อมูลประกอบบทความ ความสมเหตุสมผล และเนื้อหาการนำเสนอที่อาจถูกหยิบยกมาเพียงบางส่วน
.
>> 8. ตรวจสอบแหล่งข่าว ควรดูว่าแหล่งข่าวนั้นน่าเชื่อถือและมีชื่อเสียงหรือไม่ หากไม่มั่นใจให้ตรวจสอบที่ส่วน “เกี่ยวกับ” (about) บนเว็บไซต์นั้น
.
>> 9. ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียน ว่าเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ มีคัวตนอยู่จริงหรือไม่ หรือหาข้อมูลงานเขียนเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว
.
>> 10. เปรียบเทียบข่าวจากแหล่งอื่น ๆ หากไม่พบข้อมูลให้เปรียบเทียบในเรื่องเดียวกัน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงข่าวปลอม
.
>> 11. พิจารณาลิงก์อย่างถี่ถ้วน ระวังเว็บไซต์ปลอม ซึ่งส่วนมากมักทำเลียนแบบรูปลักษณ์เว็บไซต์จริงให้ดูน่าเชื่อถือใกล้เคียงต้นฉบับ
.
>> 12. อย่าใช้อคติ คนเรามีแนวโน้มจะเชื่อข้อมูลที่ตรงกับความเชื่อเดิมของเรา ต้องไตร่ตรองให้ดีว่าไม่มีการนำอคติส่วนตัวมาเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจเชื่อ
.
>> 13. บางเรื่องก็จงใจสร้างให้เป็นข่าวปลอม ควรแชร์ข่าวที่มั่นใจจริง ๆ ว่าเป็นข่าวที่น่าเชื่อถือ รู้จักคิด วิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน และไม่ส่งต่อข่าวปลอมให้กับคนอื่น
.
.
>>>อ่านความรู้เพิ่มเติมในหัวข้ออื่น ๆ จาก [Fact sheet] รู้เท่าทันข่าว (News Literacy) และสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่: คลิ๊กที่นี่

#newsliteracy #MIDL #fakenews

No Comments

Post A Comment